เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)
นามเดิมของท่านคือ เจิม แสงชูโต เกิดเมื่อ พ.ศ. 2394 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมมหาดเล็กรักษาพระองค์ขึ้นเป็นครั้งแรก ท่านได้รับการบรรจุเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เป็นคนแรก มีหน้าที่อารักขาพระเจ้าแผ่นดิน ขณะออกต้อนรับชาวต่างชาติ และออกขุนนาง ต่อมาท่านได้เลื่อนตำแหน่งจนกระทั่งได้รับตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผลงานของท่านที่ได้รับการกล่าวขานมากที่สุดคือ ท่านเป็นผู้นำเอาไฟฟ้ามาใช้ในเมืองไทยเป็นคนแรก เมื่อ พ.ศ. 2427 ตั้งแต่ยังเป็นหมื่นไวยวรนารถ โดยท่านได้นำมาจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จึงได้มีไฟฟ้าใช้กันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี มีชื่อเดิมว่า เจิม เป็นชาวฝั่งธนบุรี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2394 เป็นบุตรของพระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ชูโต) กับคุณหญิงเดิม บุนนาค และเป็นหลานปู่ของพระยาสุรเสนา (สวัสดิ์ ชูโต) เป็นเหลนของ เจ้าคุณชูโต พระเชษฐาของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื่องจากมารดาถึงแก่กรรม ท่านเจิมจึงได้บวชเณรที่วัดพิชยญาติการามวรวิหาร เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับมารดา จึงมีโอกาสเรียนหนังสือที่วัดพิชัยญาติ
กระทั่ง อายุ 15 ปี ได้เข้าเรียน ที่สำนักสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหกลาโหม หลังจากเรียนจนชำนาญ ได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเมื่อครั้งที่เสด็จเสวยราชสมบัติแรก ๆ ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมทหารมหาดเล็ก เพื่อฝึกสอนวิชาทหาร ท่านเจิมจึงได้รับบรรจุเป็นมหาดเล็กหมายเลข 1 นอกจากนี้ ยังโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นกองทหารองครักษ์ ซึ่งต่อมาเป็น กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในปัจจุบัน
ครั้น เมื่อปี พ.ศ. 2414 เจิม แสงชูโต ได้รับยศนายร้อยตรี ตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยที่ 6 มีบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงศัลยุทธสรกรร” และตามเสด็จประพาสอินเดีย จึงได้เปลี่ยนบรรดาศักดิ์ใหม่เป็น “หลวงศัลยุทธวิธีการ” โดยต่อมา ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น “จมื่นสราภัยสฤษดิ์การ” เนื่องจากเป็นอุปทูตไปยังเมืองปัตตาเวีย
ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2421 รัฐบาลไทยกับกงสุลอังกฤษเกิดข้อบาดหมางกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เป็นราชทูตออกไปยังประเทศอังกฤษ และจมื่นสราภัยสฤษดิ์การเป็นอุปทูตร่วมคณะ จนกระทั่งเรื่องราวสงบเรียบร้อย จึงได้รับความดีความชอบ เลื่อนเป็น “จมื่นไวยวรนาถ” หัวหมื่นมหาดเล็กเวรฤทธิ์ ถือศักดินา 1000 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้นเจ็ดค่ำ ปีเถาะเอกศก จุลศักราช 1241
ปี พ.ศ. 2426 เกิดเหตุโจรผู้ร้ายชุกชุมที่เมืองสุพรรณบุรี จมื่นไวยวรนาถได้รับมอบหมายให้ไปปราบ ซึ่งสามารถปราบได้สำเร็จ รวมทั้งปราบโจรผู้ร้ายจากทางหัวเมืองตะวันออกด้วย ในปี พ.ศ. 2428 ยังได้รับหน้าที่ให้เป็นแม่ทัพปราบฮ่อที่หัวเมืองลาว และในปี พ.ศ. 2436
ได้รับหน้าที่ไปปราบฮ่ออีกครั้งหนึ่ง โดยคิดค้นและผลิตลูกระเบิดขึ้นใช้ในการรบ จนกระทั่งปราบฮ่อได้สำเร็จราบคาบ
จมื่นไวยวรนารถได้ริเริ่มวางแผนการ ก่อตั้งโรงไฟฟ้าขึ้นใช้ในกองทัพบก และเชิญชวนให้มีการเข้าหุ้นตั้งโรงไฟฟ้า ซึ่งท่านนำไฟฟ้ามาใช้ ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยในปี พ.ศ. 2433 มีการจัดตั้งโรงไฟฟ้า ที่วัดเลียบ จนกระทั่งกิจการไฟฟ้าก้าวหน้ามากขึ้น เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ประชาชนทั่วไป ได้รับความสะดวกสบาย และมีไฟฟ้าใช้กันเรื่อยมา นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งโรงทหารหน้า (ปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของกระทรวงกลาโหม) โดยแต่เดิม เป็นที่ตั้งของฉางหลวงเก่าด้วย
ภายหลัง จากการปราบกบฏฮ่อ ได้สำเร็จถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2435 จึงได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตร และต่อมาในปี พ.ศ. 2439 จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี นฤบดีมหาสวามิภักดิ์ สัตยรักษ์เมตยาชวาศรัย ยุทธสมัยสมันตโกศล อณิกมณฑลอุขสุปรีย์ เสนานีอุดมเดช พิเศษสาธุคุณสุนทรพจน์ อดุลยยศเสนาบดี ศรีรัตนไตรยวุฒิธาดา อภัยพิริยปรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000 ต่อมาได้รับหน้าที่เป็นแม่ทัพ ไปปราบกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ ซึ่งก่อการจลาจลที่หัวเมืองเหนือ เมื่อปี พ.ศ. 2445
เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี รับใช้ราชการ มาจนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 6 โดยได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี และได้รับพระราชทานนามสกุลว่า “แสงชูโต” ซึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระราชทานยศให้เป็น “จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี” ในฐานะที่มีคุณงามความดีต่อประเทศชาติ
เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเมื่อครั้งเป็นเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการมณฑลปราจีนบุรี ท่านได้ยกตำแหน่ง ต.ศรีราชา ใน อ.บางพระ จ.ชลบุรี ขึ้นเป็น อ.ศรีราชา และลด อ.บางพระ เป็น ต.บางพระ สังกัด อ.ศรีราชา ท่านจึงถือเป็นผู้ก่อตั้งอำเภอศรีราชา
จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ป่วยด้วยโรคตับอ่อนพิการ ถึงอสัญกรรมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 เย็นวันรุ่งขึ้น สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสด็จพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ประกอบโกศไม้สิบสองตั้งบนชั้น 2 ฉัตรเบญจา 10 คัน พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมมีกำหนด 15 วัน ต่อมาวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2475 เวลา 17.30 น. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันต่อมา เวลา 7.00 น. เจ้าภาพจึงเก็บอัฐิ
ต่อมาค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง ได้สร้างอนุสาวรีย์ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ ในการเป็นแม่ทัพสำคัญที่ได้ยกพลไปปราบกบฏเงี้ยว และได้มาพัก ณ บริเวณค่ายสุรศักดิ์มนตรีแห่งนี้ โดยได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2504 เทศบาลเมืองศรีราชาและประชาชนชาวศรีราชานำโดย นายอำเภอในสมัยนั้นได้ร่วมกันหล่ออนุสาวรีย์เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีขึ้นเพื่อประดิษฐานบริเวณหน้าที่ว่าการเทศบาลและที่มุขทิศตะวันตกพระอุโบสถวัดศรีมหาราชา
ขณะรับราชการได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่ทัพยกกำลังไปปราบพวกโจรฮ่อ จนสงบราบคาบ เมื่อ พ.ศ. 2455 พวกเงี้ยวก่อการจลาจลเป็นขบถในมณฑลพายัพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กลับเข้ารับราชการเป็นแม่ทัพใหญ่ยกทัพไปปราบพวก เงี้ยวที่เป็นขบถ จนสงบราบคาบ จึงถวายบังคมทูลลาออกจาก ราชการกลับมาทำโรงเลื่อยที่ศรีราชาอีกครั้ง
นอกจากนี้ ท่านเจ้าคุณสุรศักดิ์มนตรียังเคยดำรงตำแหน่งองคมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชยการ เป็นผู้ก่อตั้งโรงทหารหน้า หรือกระทรวงกลาโหมในปัจจุบันเป็นผู้ริเริ่มนำไฟฟ้าเข้ามาใช้เป็นคนแรกใน ประเทศไทย โดยทดลองใช้ที่กระทรวงกลาโหมได้รับพระราชทานยศจอมพลทหารบก เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2468 ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2474
เกียรติคุณต่อศรีราชา
ผู้ก่อตั้งอำเภอศรีราชา
การมาทำโรงเลื่อยไม้ที่ศรีราชาของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ทำให้เกิดชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งต่อมาเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี จึงได้กราบทูลต่อกรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (สมุหเทศบาลสำเร็จราชการมณฑลปราจีน) ขอให้ย้ายที่ทำการอำเภอจากเดิมที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอบางพระมาอยู่ที่ ศรีราชา และได้เปลี่ยนชื่ออำเภอบางพระเป็นอำเภอศรีราชา ตั้งแต่ พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา
ผู้ก่อให้เกิดโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
เมื่อสมเด็จพระศรีรสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าพระบรมราชเทวีในพระบรมสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสูญเสียสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า อีก 1 พระองค์ ในเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ทรงเสียพระทัยอย่างมาก ถึงกับประชวรหนัก เมื่อแพทย์หลวงถวายการรักษาจนพระอาการดีขึ้น จนได้แปรพระราชฐานมาประทับพักผ่อนที่ศรีราชาและโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีถวายอารักขา ระหว่างการประทับพักผ่อน ณ ศรีราชา สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงโปรดเกล้าให้หมอหลวงที่ตามเสด็จให้การรักษาพยาบาลแก่ชาวบ้านที่มาขอความ ช่วยเหลือ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาเยี่ยมพระอาการพระพันวัส สาฯ จึงโปรดเกล้าพระราชทานชื่อโรงพยาลแห่งนี้ว่า โรงพยาบาลสมเด็จฯ นับแต่นั้นเป็นต้นมา นับได้ว่า เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเป็นปูชนียบุคคลที่ได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ ศรีราชาอย่างมากมาย ฉะนั้น ในวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี หน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชน ตลอดจน พ่อค้า ประชาชน จึงร่วมกันจัดพิธีวางพวงมาลาเพื่อสักการะรำลึกถึงคุณความดีของท่านตลอดมาจน กระทั่งปัจจุบัน
ประวัติรับราชการ
มหาดเล็กหลวง ในรัชกาลที่ 4 ในตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษ สังกัดเวรฤทธิ์
ทหารมหาดเล็ก ในรัชกาลที่ 5 ยศนายร้อยตรี
พ.ศ. 2416 นายร้อยโท และต่อมาเลื่อนขึ้นเป็นนายร้อยเอก
พ.ศ. 2423 ผู้บังคับการกรมทหารหน้า และเป็นนายพันเอก
พ.ศ. 2430 เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ ในกรมยุทธนาธิการ
พ.ศ. 2430 นายพลตรี
15 เมษายน พ.ศ. 2433 ผู้บัญชาการกรมทหารบก
พ.ศ. 2435 เสนาบดีกระทรวงเกษตรพาณิชการ
พ.ศ. 2439 เป็นเจ้าพระยา
พ.ศ. 2441 นายพลโท
20 สิงหาคม พ.ศ. 2454 – มหาอำมาตย์เอก (นอกราชการสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ)
28 ธันวาคม พ.ศ. 2461 นายหมวดเอก
31 มีนาคม พ.ศ. 2468 (2469 นับแบบปัจจุบัน) จอมพล
Comments are closed