เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)

jumbo jili

เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) (11 มกราคม พ.ศ. 2319 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2392) อัครมหาเสนาบดีสมุหนายก และแม่ทัพใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้นสกุล “สิงหเสนี” “บดินทรเดชา” เป็นราชทินนามพิเศษที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ทั้งนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ต่อมาทางสมาชิกสกุลสิงหเสนี ได้ทูลเกล้าฯ ถวายแด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเชิญไปไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่แผ่นดิน

สล็อต

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 และมีการพระราชทานนามสกุลให้แก่พระราชวงศ์ ขุนนาง บุคคลต่าง ๆ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล “สิงหเสนี” เป็นลำดับที่ 7 ในสมุดทะเบียนนามสกุลพระราชทาน เพื่อเป็นเกียรติยศแก่บรรดาบุตรหลานผู้สืบสกุลจากเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เดิมชื่อว่าสิงห์ เป็นบุตรคนที่ 4 ของเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) กับท่านผู้หญิงฟัก เกิดเมื่อวันศุกร์ แรม 7 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะแม พ.ศ. 2318 เทียบกับปฏิทินปัจจุบันตรงกับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2319 ปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สถานที่เกิดอยู่บริเวณเชิงสะพานช้างโรงสีหน้ากระทรวงมหาดไทยในเขตพระนครทุกวันนี้ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สืบเชื้อสายมาจากพราหมณ์ศิริวัฒนาพราหมณ์ปุโรหิตในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยเจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นเหลนของพราหมณ์ศิริวัฒนา เจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) บิดาของเจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นสมุหพระกลาโหมในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 1 เจ้าพระยาบดินทรเดชามีพี่น้องรวมกันทั้งหมดเก้าคน มีพี่สาวคือเจ้าจอมปริกในรัชกาลที่ 1 และเจ้าจอมปรางในรัชกาลที่ 2
เมื่อเจริญวัยขึ้น ในช่วงปลายรัชกาลที่ 1 เจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) ผู้เป็นบิดาได้นำตัวนายสิงห์เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรในตำแหน่งจมื่นเสมอใจราช ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้เลื่อนเป็นจมื่นศรีบริรักษ์ เป็นปลัดกรมพระตำรวจนอกขวาในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ใน พ.ศ. 2352 จมื่นศรีบริรักษ์โดยเสด็จกรมพระราชวังบวรฯไปในการศึกพม่าตีเมืองถลางเป็นปลัดรองนายเรือลาดตระเวณ หลังจากศึกสิ้นสุดลงจมื่นศรีบริรักษ์ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระพรหมสุรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ขวาในกรมพระราชวังบวรฯ และหลังจากศึกที่อาณาจักรเขมรอุดงใน พ.ศ. 2354 ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระราชโยธาเจ้ากรมมหาดไทยของฝ่ายกรมพระราชบวรฯ และต่อมาได้เลื่อนเป็นพระยาเกษตรรักษาเป็นเกษตราธิบดีในกรมพระราชวังบวรฯ
ใน พ.ศ. 2359 เจ้าเมืองน่านคล้องช้างเผือกมาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงเสด็จออกไปรับช้างเผือก พระยาเกษตรรักษา (สิงห์) ออกรับเสด็จด้วยแต่เนื่องจากหมอกลงจัดทำให้พระยาเกษตรรักษา (สิงห์) แล่นเรือตัดหน้าฉานขบวนเรือพระที่นั่งขบวนหลังต้องโทษกบฏ กรมพระราชวังบวรฯทรงให้จำคุกพระยาเกษตรรักษา (สิงห์) ไว้เป็นเวลาสี่เดือนจนกระทั่งกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงช่วยทูลขอให้ไว้ชีวิตพระยาเกษตรรักษา พระยาเกษตรรักษา (สิงห์) จึงได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษออกมาและใน พ.ศ. 2360 กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ทิวงคต พระยาเกษตรรักษา (สิงห์) จึงดำรงฐานะเป็น “พระยาเกษตรรักษานอกราชการ” ใน พ.ศ. 2362 พระยาเกษตรรักษานอกราชการ (สิงห์) บูรณะวัดสามปลื้มซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับนิวาสถานของพระยาเกษตรรักษาริมคลองโองอ่างบริเวณเวิ้งนครเกษมหรือสำเพ็งในเขตสัมพันธวงศ์ในปัจจุบัน
พระยาเกษตรรักษานอกราชการได้ช่วยราชการในกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ในการต่อเรือค้าขายและการศาลต่างๆ ต่อมาเมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาเกษตรรักษานอกราชการ (สิงห์) จึงได้เข้ารับราชการอีกครั้งในตำแหน่งพระยาราชสุภาวดีเจ้ากรมพระสุรัสวดี พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ได้ถวายวัดสามปลื้มขึ้นเป็นพระอารามหลวงใน พ.ศ. 2368 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯพระราชทานนามวัดใหม่ว่าวัดจักรวรรดิราชาวาส
ศึกเจ้าอนุวงศ์
ใน พ.ศ. 2369 กบฏเจ้าอนุวงศ์ พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ขณะนั้นอายุห้าสิบเอ็ดปีได้รับโปรดเกล้าฯให้ยกทัพไปทางอีสานใต้ลาวใต้จำปาศักดิ์ หลังจากที่ตีทัพของเจ้าโถง (หลานของเจ้าอนุวงศ์) ที่เมืองพิมายแตกแล้วจึงยกทัพต่อไปตีค่ายเวียงคุกที่เมืองยโสธรแตก เจ้าราชบุตร (โย้) โอรสของเจ้าอนุวงศ์และเป็นเจ้าเมืองจำปาศักดิ์ยกทัพมาตั้งมั่นที่เมืองอุบล พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ยกทัพจากยโสธรเข้าโจมตีเมืองอุบล ชาวลาวเมืองอุบลลุกฮือขึ้นขับไล่เจ้าราชบุตรออกจากเมือง เจ้าราชบุตรหลบหนีกลับไปยังเมืองจำปาศักดิ์แต่ไม่สามารถเข้าเมืองได้เนื่องจากความวุ่นวายในเมือง พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) จึงสามารถเข้ายึดเมืองจำปาศักดิ์และจับกุมตัวเจ้าราชบุตรได้ได้

สล็อตออนไลน์

ในระหว่างการศึกเจ้าอนุวงศ์นั้นเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์) สมุหนายกซึ่งนำทัพในการศึกครั้งนี้ด้วยนั้นล้มป่วงลงจนถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2370 กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพมีพระบัณฑูรให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) จัดการบ้านเมืองลาวอยู่ที่เวียงจันทน์ เมื่อกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพยกทัพเสด็จกลับกรุงเทพมหานครแล้วจึงกราบทูลความดีความชอบให้แก่พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯจึงมีตราให้เลื่อนเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ขึ้นเป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดีที่สมุหนายก เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) นำตัวเจ้าราชบุตร (โย้) พร้อมทั้งอัญเชิญพระบางจากเวียงจันทน์มายังกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงขัดเคืองเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ที่มิได้ทำลายเมืองเวียงจันทน์ลงให้ราบคาบ[7] แล้วจึงทรงให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ไปทำลายเมืองเวียงจันทน์ลงอย่างสิ้นเชิง ในปี พ.ศ. 2371
เจ้าอนุวงศ์ซึ่งได้หลบหนีไปยังเวียดนามราชวงศ์เหงียนได้กลับมายังเมืองเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2371 พร้อมคณะทูตของพระจักรพรรดิมิญหมั่ง เจ้าอนุวงศ์เข้าลอบสังหารกองกำลังฝ่ายไทยและเข้าครองเมืองเวียงจันทน์อีกครั้ง เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ซึ่งยกทัพมาตั้งมั่นที่เมืองพันพร้าว (ตำบลพานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย) จึงล่าถอยไปทางใต้ไปยังยโสธร เจ้าอนุวงศ์จึงส่งโอรสเจ้าราชวงศ์ (เหง้า) ยกทัพลาวจากเวียงจันทน์ข้ามแม่น้ำโขงลงมาทางใต้เพื่อตามทัพของเจ้าพระยาราชสุภาวดี เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ได้ยกทัพขึ้นมาตั้งรับที่ค่ายบกหวาน (ตำบลบกหวาน อำเภอเมืองจังหวัดหนองคาย) เจ้าพระยาราชสุภาวดีได้ต่อสู้ตัวต่อตัวกับเจ้าราชวงศ์ (เหง้า) เจ้าพระยาราชสุภาวดีตกจากม้าล้มลง เจ้าราชวงศ์ใช้หอกแทกถูกเฉียดตัวเจ้าพระยาราชสุภาวดีเป็นแผลถลอก[8] เจ้าราชวงศ์จะให้ดาบฟันซ้ำหลวงพิพิธน้องชายของเจ้าพระยาราชสุภาวดีเข้ารับแทนทำให้หลวงพิพิธถูกฟันเสียชีวิต เจ้าพระยาราชสุภาวดีอาศัยจังหวะใช้มีดแทงที่ต้นขาของเจ้าราชวงศ์ประกอบกับฝ่ายไทยยิงปืนถูกเข่าของเจ้าราชวงศ์ล้มลงเสียโลหิตมาก ฝ่ายลาวจึงนำเจ้าราชวงศ์ขึ้นแคร่หามหนีไป เจ้าพระยาราชสุภาวดีแม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บยังคงติดตามเจ้าราชวงศ์ไปแต่ไม่สำเร็จ
หลังจากชัยชนะของเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ที่บกหวานทำให้เจ้าอนุวงศ์หลบหนีออกจากเวียงจันทน์อีกครั้งไปยังเมืองพวนอาณาจักรเชียงขวาง เจ้าพระยาราชสุภาวดียกทัพกลับไปพันพร้าวอีกครั้งและเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์ได้เผาทำลายเมืองเวียงจันทน์ลงอย่างสิ้นเชิง ฝ่ายพระจักรพรรดิมิญหมั่งส่งทูตมาอีกครั้งแต่เจ้าพระยาราชสุภาวดีไม่ไว้วางใจฝ่ายเวียดนามจึงออกอุบายให้จัดงานเลี้ยงให่แก่คณะทูตเวียดนามและสังหารคณะทูตเวียดนามเกือบหมดสิ้น เจ้าน้อยเมืองพวน ได้จับกุมตัวเจ้าอนุวงศ์ส่งมาให้เจ้าพระยาราชสุภาวดีได้สำเร็จ หลังจากเสร็จศึกเจ้าอนุวงศ์แล้วพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงแต่งตั้งเจ้าพระยาราชสุภาวดีขึ้นเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา อัครมหาเสนาบดีสมุหนายกใน พ.ศ. 2373 เวลานั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชาอายุห้าสิบสามปี
อานามสยามยุทธ
ใน พ.ศ. 2376 เกิดกบฏขึ้นที่เมืองไซง่อน เมื่อเจ้าพระยาบดินทรเดชาอายุห้าสิบแปดปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชโองการให้เจ้าพระยาบดินทรเดชายกทัพจำนวน 40,000 ยกไปตีเมืองไซ่ง่อนโดยร่วมกับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) ซึ่งนำทัพเรือ และพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ผู้เป็นน้องเขย (ท่านผู้หญิงบุนนาคน้องสาวของเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯสมรสกับพระยานครราชสีมา) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) และเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) ตั้งมั่นที่เมืองโจฎกหรือเจิวด๊ก (เวียดนาม: จังหวัดอานซาง) ของเวียดนาม ทัพเรือสยามล่องเรือไปตามแม่น้ำบาสักพบกับทัพเรือฝ่ายญวนที่คลอมหวั่มนาว (Vàm Nao) ฝ่ายญวนสามารถต้านทานทัพฝ่ายสยามได้เจ้าพระยาบดินทรเดชาและเจ้าพระยาพระคลังต้องล่าถอยกลับไปยังเมืองโจฏก ฝ่ายญวนยกทัพตามมาตีเมืองโจฎกทำให้เจ้าพระยาบดิทรเดชาฯตัดสินใจถอยทัพไปทางอาณาจักรเขมรตั้งอยู่ที่เมืองพระตะบอง มอบหมายให้นักองค์อิ่มรักษาเมืองพระตะบองแล้วจึงกลับเข้ากรุงเทพฯ

jumboslot

ใน พ.ศ. 2379 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ได้รับโปรดเกล้าฯเดินทางไปสำรวจทำบัญชีกำลังพลในหัวเมืองเขมรป่าดง ระหว่างทางผ่านเมืองพระตะบองจึงบูรณะปรับปรุงสร้างกำแพงเมืองพระตะบองขึ้นใหม่ เจ้าพระยาบดินทรเดชาเดินทางถึงเมืองขุขันธ์ใน พ.ศ. 2380 ทำบัญชีกำลังพลและสร้างป้อมเมืองพระตะบองเสร็จสิ้นแล้วจึงเดินทางกลับกรุงเทพฯ
หลังจากที่สมเด็จพระอุทัยราชาแห่งกัมพูชาสวรรคตแล้ว พระจักรพรรดิมิญหมั่งจึงตั้งนักองค์มีขึ้นครองกัมพูชาแทน นักองค์อิ่มเห็นเป็นโอกาสจึงกวาดต้อนผู้คนเมืองพระตะบองไปเข้ากับฝ่ายเวียดนามที่เมืองพนมเปญใน พ.ศ. 2382 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) จึงออกไปรักษาเมืองพระตะบองอีกครั้ง ในปีนั้นชาวกัมพูชาลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองของฝ่ายเวียดนาม เจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงยกทัพเข้าโจมตีเมืองโพธิสัตว์พร้อมกับเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) “องเดดก”แม่ทัพเวียดนามสามารถป้องกันเมืองโพธิสัตว์ได้ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เจรจากับองเดดกแม่ทัพฝ่ายเวียดนาม องเดดกยินยอมถอยกำลังออกจากเมืองโพธิสัตว์ ทำให้ฝ่ายเวียดนามล่าถอยไปอยู่ที่เมืองโจฎก เจ้าพระยาบดินทรเดชาตั้งอยู่ที่เมืองโพธิสัตว์และส่งนักองค์ด้วงไปตั้งมั่นที่เมืองอุดงมีชัย จักรพรรดิเถี่ยวจิส่งเหงียนวันเจือง ยกทัพจากโจฎกเข้ายึดพนมเปญได้ เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงยกทัพจากโพธิสัตว์ไปยังเมืองอุดงเพื่อช่วยเหลือนักองค์ด้วง หลังจากที่องตาเตียงกุนยึดเมืองพนมเปญได้แล้วจึงยกมาที่เมืองอุดงต่อ เจ้าพระยาบดินทรเดชานำทัพเข้าซุ่มโจมตีทัพเวียดนามแตกพ่ายแพ้กลับไป
สงครามอานามสยามยุทธระหว่างสยามและเวียดนามซึ่งกินเวลายืดเยื้อกว่าสิบปีไม่มีข้อสรุป นำไปสู่การเจรจาระหว่างฝ่ายสยามและเวียดนาม เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯบูรณะวัดพุทธโฆษาจารย์ที่เมืองพนมเปญใน พ.ศ. 2389 เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯอยู่จัดการเรื่องอาณาจักรเขมรอยู่ที่เมืองอุดงจนถึง พ.ศ. 2390 เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯ เป็นผู้แทนพระองค์นำเครื่องอิสริยยศและสุพรรณบัฏแต่งตั้งนักองค์ด้วง ขึ้นเป็นสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี กษัตริย์แห่งกัมพูชาใน พ.ศ. 2390
ปราบจีนตั้วเหี่ย
หลังจากราชาภิเษกนักองค์ด้วงขึ้นเป็นกษัตริย์กัมพูชาแล้วเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯ จึงเดินทางกลับมายังกรุงเทพฯ มาถึงเมืองฉะเชิงเทราใน พ.ศ. 2391 เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) นำทัพเข้าปราบจีนตั้วเหี่ยที่เมืองฉะเชิงเทรา หลังจากปราบจีนตั้วเหี่ยได้สำเร็จแล้ว เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงเดินทางกลับมายังกรุงเทพฯ พร้อมกับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ขณะนั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯมีอายุเจ็ดสิบสองปี
หลังจากที่เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) กลับมาพำนักอยู่ที่กรุงเทพมหานครได้หนึ่งปี เกิดอหิวาตกโรคระบาดมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียมาถึงกรุงเทพฯในเดือนห้า พ.ศ. 2392 วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2392 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ก็ถึงแก่อสัญกรรมที่นิวาสสถานบริเวณริมคลองโอ่งอ่างบริเวณเชิงสะพานหันกับบ้านดอกไม้ สิริอายุได้เจ็ดสิบสามปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้พระราชทานเพลิงศพที่วัดสระเกศเมื่อเดือนหก พ.ศ. 2393

slot

เมื่อพระหริรักษ์รามาธิบดีฯองค์พระหริรักษ์เจ้ากัมพูชาได้ทราบว่าเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์) ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว พระองค์ทรงระลึกถึงครั้งที่เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯ ได้ช่วยเหลือปราบปรามหมู่ปัจจามิตรทั้งช่วยจัดราชการเมืองเขมรให้ราบคาบเรียบร้อยตลอดมา จึงดำรัสสั่งสร้างเก๋งขึ้นที่หน้าค่ายใหญ่ใกล้วัดโพธารามในเมืองอุดงมีชัย แล้วให้พระภิกษุสุกชาวเขมร ช่างปั้นฝีมือเยี่ยมในยุคนั้นปั้นรูปเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯ ขึ้นไว้เป็นอนุสาวรีย์ด้วยปูนเพชร และประกอบการกุศลมีสดับปกรณ์เป็นต้นปีละครั้งที่เก๋ง ชาวเขมรเรียกว่า “รูปองบดินทร” ตลอดมาจนบัดนี้ รูปนี้สร้างขึ้นในราวปีจอ พ.ศ. 2392
ปีพ.ศ. 2441 พระพุฒาจารย์ (มา) เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสให้คนไปวาดรูปปั้นองค์บดินทร์ที่เมืองอุดงมีชัยมาเป็นต้นแบบ แล้วให้นายเล็กช่างหล่อหล่อถอดแบบรูปปั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯขึ้น มาตั้งไว้ที่วัดจักรวรรดิราชาวาส

Comments are closed