หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)

jumbo jili

พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ, ชื่อเดิม กิมเหลียง วัฒนปฤดา แต่อ้างว่ามิได้มีเชื้อจีนแต่ประการใด เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ นักปราชญ์ นักประวัติศาสตร์ นักการเมือง นักปาถกฐา นักประพันธ์ คนสำคัญของประเทศไทย

สล็อต

หลวงวิจิตรวาทการเป็นผู้ต้นคิดและริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงชื่อของประเทศ จากประเทศสยาม เป็นประเทศไทย ท่านเป็นบุตรของนายอินและนางคล้าย เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2441 ที่จังหวัดอุทัยธานี บิดามารดามีอาชีพค้าขาย อายุ 8 ขวบเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดขวิด ตำบลสะแกกรัง เมื่อจบประถมศึกษา บิดาได้นำไปฝากให้บวชสามเณรอยู่กับพระมหาชุ้ย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
เมื่อท่านอายุ 13 ปี ในปี พ.ศ. 2453 ท่านได้ศึกษานักธรรมและบาลีจนจบนักธรรมเอกและเปรียญ 5 ประโยค โดยสอบได้เปรียญ 5 ประโยคเมื่ออายุ 19 ปีใน พ.ศ. 2459 สอบได้เป็นที่ 1ในประเทศได้รับประกาศนียบัตรหมายเลข 1 จากพระหัตถ์ของรัชกาลที่ 6 และได้รับความไว้วางใจจากพระศรีวิสุทธิวงศ์ (เฮง เขมจารี) ให้เป็นครูสอนภาษาบาลีอีกด้วย
ท่านเป็นคนใฝ่รู้อย่างยิ่ง นอกจากเรียนนักธรรมและบาลีแล้วยังแอบเรียนภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส ที่ต้องแอบเรียนเพราะเขาไม่ให้เรียนวิชาอื่น แต่ด้วยความอยากรู้ท่านจึงแอบเรียนจนมีความรู้ในภาษาทั้ง 2 ดี ได้แปลพงศาวดารเยอรมันเป็นไทยโดยใช้นามปากกาว่า “แสงธรรม”
การทำงาน
เมื่ออายุ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นภิกษุ อยู่ในภิกขุภาวะได้เพียงเดือนเดียวก็ลาสิกขาออกมารับราชการที่กองการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ทำงานอยู่เป็นเวลา 2 ปี 3 เดือน ท่านก็ได้มีโอกาสไปรับตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการ ประจำสถานอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รับราชการที่สถานทูตแห่งนั้นได้ 6 ปีเต็ม แล้วได้ย้ายไปประจำการในสถานอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อครั้งยังรับราชการอยู่ที่กรุงปารีส หลวงวิจิตรวาทการ ร่วมประชุมกับผู้ก่อตั้งคณะราษฏร์ แต่ท่านมิได้เข้าร่วมคณะราษฎร์ เพราะท่านไม่เห็นด้วยกับปรัชญาและแนวโน้มด้านลัทธิคอมมิวนิสต์ของท่านปรีดี พนมยงค์ และต้องการปกป้องยึดมั่นสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ภายใต้รัฐธรรมนูญ ท่านจึงก่อตั้ง “คณะชาติ” ขึ้นมาเพื่อหมายจะเปรียบเทียบกับคณะราษฎร์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าเทียมคณะราษฏร์ หลังจากรับราชการต่อที่กรุงลอนดอน หลวงวิจิตรวาทการ จึงกลับมาร่วมงานวางแผนรัฐประหารกับคณะราษฏร์ที่ประเทศไทย ร่วมก่อการรัฐประหารโดยมิได้เอาชื่อเข้าคณะรัฐประหารเป็นทางการ
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งขณะนั้นมียศเป็น อำมาตย์โท และดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ ได้ถูกปลดออกจากราชการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2475 แต่ในภายหลังได้กลับเข้ารับราชการพร้อมกับโอนมารับราชการที่ กระทรวงธรรมการ ก่อนจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2477 ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศแทนจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2485 เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศญี่ปุ่นได้ทำลายประเทศจีนและประเทศอื่นๆในทวีปเอเซียและเข้าประชิดเตรียมรุกรานประเทศไทย หลวงวิจิตรวาทการปรึกษากับนายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ทั้งสองตัดสินว่า เพื่อป้องกันประเทศไทย มิให้ถูกทำลายโดยกองทัพญี่ปุ่น ประเทศไทยควรยินยอมให้ประเทศญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไปสู่แหลมมลายู และให้ดำรงอิสรภาพของประเทศไทยเป็นการตอบแทน หลวงวิจิตรวาทการ สละตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ไปเป็นเอกอัครราชทูตประจำกรุงโตเกียวที่ประเทศญี่ปุ่นแทนนาย ดิเรก ชัยนาม เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ในระยะสงครามโลกครั้งที่สองนี้ ประเทศญี่ปุ่นได้ตอบแทนมิตรภาพของประเทศไทย โดยช่วยเหลือให้ประเทศไทยรบยึดคืนแผ่นดินที่ได้สูญเสียแก่ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสในประวัติศาสตร์
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ด้วยความพ่ายแพ้ของประเทศญี่ปุ่น หลวงวิจิตรวาทการ เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งเอกอัครราชทูตเยอรมันและเอกอัครราชทูตอิตาลี จึงถูกแม่ทัพอเมริกันนายพล ดักลาส แมคอาเธอร์ สั่งจับเข้าที่คุมขัง คุณหญิงวิจิตรวาทการได้เข้าอธิบายต่อนายพลแมคอาเธอร์ว่าประเทศไทยนั้น จำเป็นต้องดำเนินนโยบายเพื่อดำรงอิสรภาพ และปกป้องคุ้มกันประเทศมิให้ญี่ปุ่นทำลาย นายพลแมคอาเธอร์เข้าใจและรับคำอธิบายของคุณหญิงวิจิตรวาทการ สั่งปลดปล่อยหลวงวิจิตรวาทการออกจากที่คุมขัง รวมทั้งจัดการมอบเครื่องบินอเมริกัน นำหลวงวิจิตรวาทการและข้าราชการประจำสถานทูตกลับเมืองไทย แต่เมื่อกลับมาถึงประเทศ รัฐบาลไทยภายใต้นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์ และความควบคุมของพันธมิตรอังกฤษฝรั่งเศสและอเมริกา จึงจับกุมหลวงวิจิตรวาทการเข้าที่คุมขังในฐานอาชญากรสงคราม

สล็อตออนไลน์

หลวงวิจิตรวาทการและจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ถูกกล่าวหาเป็นอาชญากรสงคราม ฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสต้องการให้ประหารชีวิตทั้งสองท่าน แต่พันธมิตรอเมริกา ยืนยันว่าต้องดำเนินการขึ้นศาลตัดสินความก่อน ศาลไทยตัดสินความโดยยกเลิกข้อฟ้องทั้งหมดในพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม และปลดปล่อยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม หลวงวิจิตรวาทการ และนักโทษการเมืองอื่นๆ ออกจากที่คุมขัง กลับสู่อิสรภาพ
หลวงวิจิตรวาทการกลับมาใช้ชีวิตเป็นนักประพันธ์ แต่งสารคดีและนวนิยาย ประสบความสำเร็จเจริญรุ่งเรืองในชีวิตนอกการเมือง จนสามปีต่อมา จอมพล แปลก พิบูลสงคราม และหลวงวิจิตรวาทการ ร่วมปรึกษาวางแผนปฏิวัติยึดอำนาจกลับคืนสำเร็จ
หลวงวิจิตรวาทการจึงกลับสู่สภาวะนักการเมือง ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ภายหลังเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศอินเดีย และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และดำรงตำแหน่ง ปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
บทบาทสำคัญที่สุดของหลวงวิจิตรวาทการ ในฐานะนักการเมืองและนักชาตินิยม คือเป็นต้นความคิด ในการเปลี่ยนแปลงชื่อของประเทศสยาม เป็นประเทศไทย หลวงวิจิตรวาทการเป็นนักประวัติศาสตร์ ที่รอบรู้ประวัติของชนชาติไทย ตั้งแต่ตั้งรากฐานอยู่ที่ Caspian Sea ใกล้ประเทศรัสเซีย และอพยพเข้าสู่เขตยูนานก่อนชนชาติจีน ถูกชนชาติจีนบุกรุกผลักดันลงสู่ทิศใต้ จนถึงแดนสุวรรณภูมิ มีจำนวนชนชาวไทยทั้งหมดในขณะนั้น ประมาณ30ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศสยาม ท่านจึงนำเรื่องขึ้นเสนอต่อจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ว่าสมควรเปลี่ยนชื่อประเทศ จากประเทศสยาม เป็นประเทศไทย จอมพล แปลก พิบูลสงคราม จึงแต่งตั้งหลวงวิจิตรวาทการให้เป็นประธานคณะกรรมการ นำเรื่องเปลี่ยนชื่อประเทศขึ้นสู่สภาผู้แทน และสภาผู้แทนแห่งประเทศสยาม จึงลงเสียง เปลี่ยนชื่อประเทศสยาม เป็นประเทศไทย
หลวงวิจิตรวาทการถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2505
ผลงาน
หลวงวิจิตรวาทการ เป็นผู้แต่งหนังสือ
ประวัติศาสตร์สากล ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 เล่ม โดยใช้นามปากกาว่า “วิเทศกรณีย์”
ท่านยังเป็นผู้ประพันธ์คำร้องและทำนองเพลงปลุกใจให้รักชาติประกอบเรื่องในละครประวัติศาสตร์ เช่น เพลงตื่นเถิดชาวไทย เพลงต้นตระกูลไทย เพลงรักเมืองไทย เพลงเลือดสุพรรณ เพลงแหลมทอง และเพลงกราวถลางเป็นต้น นอกจากนั้นท่านยังแต่งบทละครอิงประวัติศาสตร์ และเพลงประกอบละครเหล่านั้น ไว้หลายเรื่องและหลายเพลง ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการปลุกเร้าความรู้สึกชาตินิยมในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
รายชื่อละครประวัติศาสตร์
นเรศวรประกาศอิสรภาพ (พ.ศ. 2477)
เลือดสุพรรณ (พ.ศ. 2479)
พระเจ้ากรุงธน (พ.ศ. 2480)
ศึกถลาง (พ.ศ. 2480)

jumboslot

“ทุจริตคอร์รัปชั่น” เป็นเรื่องผิดปกติอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็นการทำงานประเภทใดก็ตาม ในความเป็นจริงแล้วความผิดนี้สำหรับบางคนกลับเป็นเรื่องธรรมดาสามัญไปได้ ดังเช่นประสบการณ์ของหลวงวิจิตรวาทการเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างพ.ศ. 2485 ถึง 2486 ตามด้วยเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2486 ซึ่งมีข้อมูลที่สามารถนำมาใช้หาผลประโยชน์ให้ตัวเองได้ แต่กลับไม่ทำจนโดนหาว่า “โง่”
เส้นทางชีวิตของพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ มีหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงในตำแหน่งปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี ยุคจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี หลังการรัฐประหารเมื่อพ.ศ. 2501 นอกจากบทบาททางการเมืองแล้วยังมีผลงานในเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปศาสตร์การดนตรี และด้านอื่นๆ ไปจนถึงถูกดำเนินคดีในข้อหาอาชญากรสงครามหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2
ช่วงเวลาหนึ่งหลวงวิจิตรวาทการดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่าง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2485 ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2486 ตามด้วยตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2486
นับตั้งแต่ช่วงเมื่อพ.ศ. 2484 เป็นต้นมานับว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการสงคราม และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยต้องทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับฝ่ายญี่ปุ่น การทำงานของหลวงวิจิตรวาทการยังช่วยเหลือในด้านการต่างประเทศต่างๆ ในช่วงที่ทำงานในยุครัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งย่อมทำให้ได้รับทราบข้อมูลความเคลื่อนไหวภายในต่างๆ เป็นอย่างดี
จากการบอกเล่าของหลวงวิจิตรวาทการ ในการปาฐกถาที่วัดมหาธาตุ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2489 อันเป็นสถานที่ซึ่งเคยใช้เวลาในวัยเด็กศึกษาทางธรรมตั้งแต่อายุ 13-20 ปี หลวงวิจิตรวาทการ เล่าว่า ไม่ได้ใช้ข้อมูลเหล่านี้มาหาผลประโยชน์เนื่องจากรำลึกถึงการอบรมสั่งสอนจากวัดมหาธาตุนี้โดยเฉพาะเรื่องความซื่อสัตย์ ไม่อาศัยอำนาจหน้าที่แสวงหาลาภยศแม้ว่าการกระทำนั้นจะถูกกฎหมายก็ตาม
ข้อความตอนหนึ่งในปาฐกถา มีว่า
“..แม้จะไม่เป็นการทุจริตผิดกฎหมายและมีสิ่งที่จูงใจให้ทำก็ได้งดเว้นไม่กระทำ เช่น ขณะเป็นรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ ระหว่างที่ต้องติดต่อกับญี่ปุ่นแต่ประเทศเดียว ข้าพเจ้าทราบก่อนใครๆ ว่าเรือบรรทุกสินค้าของญี่ปุ่นจะเข้ามาถึงเมื่อไร และมีสินค้าอะไรอยู่ในเรือบ้าง เพียงแต่กระซิบบอกเพื่อนๆ ที่เป็นพ่อค้าให้ทราบหรือขอซื้อเป็นของตัวเองสักคราวละ 5 ตันเท่านั้นก็มั่งมีถมไป แต่การอบรมในสำนัก ห้ามใจไม่ให้ข้าพเจ้าทำ เพื่อนฝูงเขาว่าข้าพเจ้าโง่ แต่ข้าพเจ้าก็พอใจที่มิได้ทำอะไรผิดทางอบรมของสำนัก
อนึ่ง ในสมัยที่เป็นเอกอัครราชทูตประจำอยู่ที่โตเกียวเป็นสมัยที่ประเทศไทยต้องการยามากที่สุด ยาหลอดเล็กๆ ซึ่งซื้อในโตเกียวได้ด้วยราคา 10 เยน หรือ 15 เยน สามารถขายในประเทศไทยเป็นเงิน 50 หรือ 60 บาท แปลว่ากำไร 5 เท่า ยา 500 หลอด จะเป็นแต่เพียงห่อๆ หนึ่งซึ่งข้าพเจ้าสามารถจะฝากเครื่องบินญี่ปุ่นเข้ามาได้ทุกสัปดาห์

slot

ถ้าข้าพเจ้าทำ ข้าพเจ้าสามารถหาเงินได้อย่างน้อยเดือนละ 50,000 บาท 2 ปีที่อยู่ญี่ปุ่นจะทำให้ข้าพเจ้ามีเงินจำนวนล้านแต่เสียงของสำนักคอยกระซิบห้ามมิให้ข้าพเจ้าทำ และในเวลานั้นข้าพเจ้าก็ภูมิใจว่าไม่เคยใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวอย่างไร…”
หลวงวิจิตรวาทการ ยังเล่าว่า ภายหลังจากที่รัฐบาลควง อภัยวงศ์ เข้ามาทำหน้าที่แทนรัฐบาลพิบูลสงคราม สภาผู้แทนราษฎรยังตั้งคณะกรรมการสอบสวนพฤติกรรมการเงินของรัฐมนตรีชุดเก่า ซึ่งคณะกรรมการได้ตรวจสอบหลวงวิจิตรวาทการย้อนไปถึงเมื่อเป็นอธิบดีกรมศิลปกร
“คณะกรรมการลงความเห็นว่า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตลอดมา ข้าพเจ้าเก็บโทรเลขฉบับนี้ไว้บนที่บูชา เก็บไว้เป็นประกาศนียบัตรเพื่อเกียรติประวัติประจำตระกูลสำหรับลูกหลานของข้าพเจ้าต่อไปในอนาคต…”

Comments are closed