หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ
ศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ (ราชสกุลเดิม กุญชร; 13 ธันวาคม พ.ศ. 2454 – 7 มิถุนายน พ.ศ. 2525) เป็นนักเขียน และนักวิชาการภาษาไทย เป็นธิดาของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) กับนวล กุญชร ณ อยุธยา
หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ เดิมชื่อ หม่อมหลวงบุญเหลือ กุญชร เป็นธิดาลำดับที่ 32 ของเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) กับหม่อมนวล เกิดที่บ้านย่านคลองเตย ถนนสุนทรโกษา ซึ่งเป็นบ้านพักนอกเมืองของบิดา เป็นน้องสาวร่วมบิดากับหม่อมหลวงบุปผา นิมมานเหมินท์ นักเขียนชาวไทย ที่มีนามปากกาว่า ดอกไม้สด จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ และไปศึกษาต่อชั้นมัธยมที่ ปีนัง และประเทศอังกฤษ จากนั้นมาศึกษาต่อที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2479 แล้วเข้ารับราชการสอนหนังสือที่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และเป็นอาจารย์สอนพิเศษภาษาอังกฤษที่คณะอักษรศาสตร์ และสอนภาษาไทยที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จากนั้นไปศึกษาต่อปริญญาโทด้านการศึกษาที่มหาวิทยาลัยมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา และกลับมารับราชการ จนลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2513 ขณะดำรงตำแหน่งคณบดี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตทับแก้ว และยังเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตบางแสน (ซึ่งปัจจุบันนี้เป็น มหาวิทยาลัยบูรพา) ระหว่าง พ.ศ. 2502-พ.ศ. 2503
หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ สมรสกับ นายแพทย์ชม เทพยสุวรรณ เมื่อ พ.ศ. 2503 ไม่มีบุตรและธิดา ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2524 อายุได้ 70 ปี
ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ที่ประชุมใหญ่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องหม่อมหลวงบุญเหลือเป็นบุคคลสำคัญของโลก เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 100 ปีชาตกาล ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา วัฒนธรรม ภาษาและวรรณคดี กรมส่งเสริมสถานภาพสตรี และการส่งเสริมสันติภาพ พร้อมกับบุคคลและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของโลกอีก 97 รายการ
ศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ (ราชสกุลเดิม กุญชร) เกิดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2454 เป็นธิดาของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) กับนวล กุญชร ณ อยุธยา เกิดที่บ้านย่านคลองเตย ถนนสุนทรโกษา ซึ่งเป็นบ้านพักนอกเมืองของบิดา เป็นน้องสาวร่วมบิดากับหม่อมหลวงบุปผา นิมมานเหมินท์ นักเขียนชาวไทย ที่มีนามปากกาว่า ดอกไม้สด จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ และไปศึกษาต่อชั้นมัธยมที่ปีนัง และประเทศอังกฤษ จากนั้นมาศึกษาต่อที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2479 แล้วเข้ารับราชการสอนหนังสือที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และเป็นอาจารย์สอนพิเศษภาษาอังกฤษที่คณะอักษรศาสตร์ และสอนภาษาไทยที่โรงเรียนมาแตร์เดอี ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาคนแรก
จากนั้นไปศึกษาต่อปริญญาโทด้านการศึกษาที่มหาวิทยาลัยมินนิโซตา สหรัฐ และกลับมารับราชการ จนลาออกจากราชการในปี พ.ศ. 2513 ขณะดำรงตำแหน่งคณบดี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตทับแก้ว และยังเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตบางแสน (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยบูรพา) ระหว่างปี พ.ศ. 2502 – พ.ศ. 2503
หม่อมหลวงบุญเหลือ สมรสกับนายแพทย์ชม เทพยสุวรรณ เมื่อปี พ.ศ. 2503 ไม่มีบุตรธิดา ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2525 สิริอายุได้ 70 ปี
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ที่ประชุมใหญ่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศยกย่องหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ เป็นบุคคลสำคัญของโลก เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 100 ปีชาตกาล ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านการศึกษา วัฒนธรรม ภาษาและวรรณคดี กรมส่งเสริมสถานภาพสตรี และการส่งเสริมสันติภาพ พร้อมกับบุคคลและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของโลกอีก 97 รายการ
ผลงานและเกียรติประวัติ
ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ เป็นผู้มีคุณูปการสำคัญแก่วงการศึกษาของประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านการขยายโอกาสและปรับปรุงคุณภาพการศึกษา ทั้งในระดับมัธยมศึกษา ระดับอุดมศึกษา การฝึกหัดครู การอนุรักษ์ภาษาไทย การส่งเสริมการสอนภาษาและวรรณคดีไทย การวิจารณ์วรรณคดี การส่งเสริมการสอนภาษาและวรรณคดีอังกฤษ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการศึกษาและวัฒนธรรมของประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ ตลอดจนการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่าง นอกจากนั้น ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ยังเป็นนักเขียนที่สร้างผลงานอันก่อให้เกิดความตระหนักในบทบาทอันสำคัญทางสังคมของสตรีไทย และความสัมพันธ์ระหว่างชาย-หญิง
ด้านการศึกษา
ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ มีส่วนสำคัญในพัฒนาการศึกษาและเป็นผู้บริหารหน่วยงานด้านการศึกษา
ร่วมก่อตั้งหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา และเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์
ร่วมก่อตั้งกิจการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการศึกษา และเป็นรองประธานคณะกรรมการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
ร่วมวางพื้นฐานก่อตั้งวิทยาลัยการศึกษาบางแสน และเคยดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี
ร่วมก่อตั้งคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตทับแก้ว เป็นผู้วางหลักสูตรและดำรงตำแหน่งคณบดีเป็นคนแรก ม.ล.บุญ เหลือ เทพยสุวรรณ ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ในด้านการศึกษา และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์อีกด้วย
ด้านภาษาไทย
ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ เป็นบุคคลสำคัญในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนและอนุรักษ์ภาษาไทย
มีส่วนร่วมในการก่อตั้งชมรมภาษาไทยและเคยเป็นรองประธานชมรมภาษาไทยของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เคยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เข้าเฝ้าฯ และร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการใช้คำภาษาไทยในยุคใหม่ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปทรงร่วมประชุมกับชมรมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2505
เป็นประธานคณะกรรมการร่างและจัดทำตำราเรียนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายให้กระทรวงศึกษาธิการ
ด้านภาษาต่างประเทศ
ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นประธานคณะกรรมการแห่งชาติ เพื่อความร่วมมือในด้านการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ โดยผ่านองค์การ SEMEO RELC
เป็นผู้ประสานติดต่อร่วมมือกับองค์การต่างๆ อาทิ British Council, Fulbright, East-West Center และหน่วยงานอื่นๆอีกหลายแห่ง เกี่ยวกับการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษา เพื่อความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างชาติที่กว้างขวางลุ่มลึกยิ่งขึ้น
เป็นผู้ริเริ่มและมีส่วนผลักดันให้ก่อตั้งสถาบันภาษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ด้านวรรณคดีวิจารณ์
ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ เป็นสตรีที่มีความคิดก้าวหน้าในเชิงการวิเคราะห์และวิจารณ์ได้เขียนตำราวรรณคดีและหนังสือวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีไว้หลายเล่ม หนึ่งในจำนวนนี้คือ เรื่อง หัวเลี้ยวของวรรณคดีไทย ซึ่งได้รับการยกย่องจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยให้อยู่ในรายการหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน และเป็นหนังสือที่มหาวิทยาลัยลอนดอนใช้เป็นหนังสือประกอบการศึกษาวรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังมีหนังสืออีกเล่มหนึ่งซึ่งนักศึกษาในมหาวิทยาลัยหลายแห่งใช้เป็นตำราในการศึกษาและการวิจารณ์วรรณคดี คือหนังสือ วิเคราะห์รสวรรณคดี
ด้านความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติและวัฒนธรรม
ป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุมสภาสตรีระหว่างประเทศ ในเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน
เป็นผู้แทนของกระทรวงศึกษาธิการในการประชุมของ Southeast Asian Study Group เกี่ยวกับ Cultural Relations for the Future
ได้รับเชิญให้เป็นผู้บรรยายให้กับนักศึกษาหน่วยสันติภาพ เพื่อความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในประเทศไทยและได้เขียนหนังสือ Meet The Thai People of Thailand เพื่อให้นักศึกษาหน่วยสันติภาพเข้าใจวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทยได้ดียิ่งขึ้น
ด้านการแปล
ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ มีผลงานแปล คือ
นิยายเรื่อง ศิลาถรรพ์ จากบทประพันธ์เรื่อง The Talisman ของ Sir Walter Scott
เรื่องสั้นหลายเรื่องรวมอยู่ในหนังสือ หน้านี้ของคุณหนู ซึ่ง ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ได้เขียนให้ในโอกาสร่วมฉลองปีเด็กสากล
ด้านการเป็นนักเขียน
ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ นอกจากจะเป็นนักการศึกษาและผู้บริหารด้านการศึกษาแล้วยังเป็นผู้มีความสามารถในการเขียนนวนิยายและเรื่องสั้นอีกด้วย นวนิยายบางเรื่องของ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณยังได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ และได้ใช้เป็นหนังสือนอกเวลาสำหรับนักศึกษาในต่างประเทศเกี่ยวกับ Thai Studies ตัวอย่างงานเขียนของ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ มีดังนี้
นวนิยาย
ทุติยะวิเศษ เป็นนวนิยายเกี่ยวกับช่วงรอยต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และวิถีชีวิตของสังคมไทยในยุคนั้นมีผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว กำลังจะพิมพ์เป็นรูปเล่มและเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
สะใภ้แหม่ม เป็นนวนิยายเกี่ยวกับความแตกต่างทางวัฒนธรรม
สุรัตนารี เป็นนวนิยายที่กล่าวถึงสถานภาพ บทบาทและความสัมพันธ์ รวมทั้งความรับผิดชอบของเพศชายและเพศหญิง
ดร.ลูกทุ่ง
ตกหลุมตกร่องแล้ว ใดใดก็ดี
เรื่องสั้น
ฉากหนึ่งในชีวิต เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นหลายเรื่อง
คนถูกคนผิด ใช้เป็นหนังสืออ่านประกอบสำหรับนักศึกษาและอาจารย์ใน The School of Oriental and African Studies (SOAS), University of London
เสน่ห์ปลายจวัก ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ โดย Herbert Phillips มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ณ เมืองเบิร์กลีย์ อยู่ในหนังสือ Modern Thai Literature
ช้างพลายมงคลผู้อาภัพ
หน้านี้ของคุณหนู รวมเรื่องสั้นสำหรับเด็กและเยาวชน
หนังสือที่เขียนในโอกาสพิเศษ
ความสำเร็จและความล้มเหลว
ความสุขของสตรี
Comments are closed