พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

jumbo jili

ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (20 เมษายน พ.ศ. 2454 – 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538) เป็นนักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2528 เขาเป็นน้องชายแท้ ๆ ของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี

สล็อต

ปลาย พ.ศ. 2551 กระทรวงวัฒนธรรมเสนอชื่อหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เป็นบุคคลสำคัญของโลกต่อยูเนสโก โดยมีทั้งเสียงสนับสนุน และคัดค้าน ต่อมาในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เป็นบุคคลสำคัญของโลก ใน 4 สาขา ได้แก่ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล พ.ศ. 2554 โดยได้รับการประกาศพร้อมกันกับเอื้อ สุนทรสนาน ซึ่งได้รับในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล พ.ศ. 2553
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เกิดวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2454 ในเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ณ ตำบลบ้านม้า อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นโอรสคนสุดท้อง ในบรรดาโอรส-ธิดา ทั้ง 6 คน ของ พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) ชื่อ “คึกฤทธิ์” นั้นมาจากการที่ชอบร้องไห้เสียงดังในวัยทารก จึงได้รับพระราชทานนามนี้จาก สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
เขาสมรสกับ หม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2479 มีบุตรธิดา 2 คน คือ หม่อมหลวงรองฤทธิ์ ปราโมช และ หม่อมหลวงวิสุมิตรา ปราโมช ต่อมาได้แยกกันอยู่กับหม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์พักอยู่ที่บ้านในซอยพระพินิจ ซึ่งเป็นซอยย่อยอยู่ในซอยสวนพลู ถนนสาทรใต้ เขตสาทร บ้านหลังนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “บ้านซอยสวนพลู”
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เป็นบุคคลที่มีบุคลิกและบทบาทที่หลากหลาย มีชื่อเสียงในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการประพันธ์ การแสดง และยังเป็นนักการเมือง เป็นผู้ก่อตั้งพรรคก้าวหน้า เมื่อ พ.ศ. 2488 ต่อมาได้ยุบรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ในปีถัดมา ต่อมาก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2493 และก่อตั้งพรรคกิจสังคม เมื่อ พ.ศ. 2517 และได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2518 โดยสามารถเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลทั้งที่มีจำนวน ส.ส. ในมือเพียง 18 คน รัฐบาลคึกฤทธิ์ในครั้งนั้นมี บุญชู โรจนเสถียร ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคกิจสังคม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบาย “เงินผัน” เป็นที่รู้จักเลื่องลือทั่วไปในสมัยนั้น
ก่อนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เคยรับบทเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศหนึ่ง ชื่อว่าประเทศสารขัณฑ์ ในภาพยนตร์เรื่อง The Ugly American (1963) คู่กับมาร์ลอน แบรนโด เมื่อ พ.ศ. 2506 และหลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาเคยรับบทเป็นนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์ ผู้แทนนอกสภา กำกับโดย สุรสีห์ ผาธรรม นำแสดงโดย สรพงศ์ ชาตรี เมื่อ พ.ศ. 2526

สล็อตออนไลน์

ระหว่างการเล่นการเมือง หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์มีบุคลิกที่โดดเด่นเป็นตัวของตัวเองที่ทุกคนรู้จักดี คือ วาทะศิลป์ และบทบาทเป็นที่ชวนให้จดจำ เช่น การผวนพูดเล่นชื่อของตัวเองเมื่อมีผู้ถามว่า หมายถึงอะไร โดยตอบว่า “คึกฤทธิ์ ก็คือ คิดลึก” เป็นต้น
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ได้รับฉายาจากนักการเมือง และสื่อมวลชนมากมาย เช่น “เฒ่าสารพัดพิษ” “ซือแป๋ซอยสวนพลู” ภายหลังเมื่อมีอายุ จนสามารถแสดงความเห็นทางการเมือง ได้อย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลใด ๆ จึงได้รับฉายาว่า “เสาหลักประชาธิปไตย” นอกจากนี้ อีกฉายาหนึ่งที่ใช้เรียก หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ในบางแห่งคือ “หม่อมป้า”
ในด้านวรรณศิลป์ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ มีผลงานหนังสือที่มีชื่อเสียงระดับประเทศมากมาย ที่ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น สี่แผ่นดิน, ไผ่แดง, กาเหว่าที่บางเพลง, หลายชีวิต, ซูสีไทเฮา, สามก๊กฉบับนายทุน และเรื่องสั้น “มอม” ซึ่งได้ใช้เป็นบทความประกอบแบบเรียนภาษาไทยในปัจจุบัน บางชิ้นมีผู้นำไปทำเป็นละครโทรทัศน์ เช่น สี่แผ่นดิน, หลายชีวิต และทำเป็นภาพยนตร์ เช่น กาเหว่าที่บางเพลง
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ณ โรงพยาบาลสมิติเวช รวมอายุ 84 ปี 172 วัน ต่อมาเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เวลา 17.15 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 กระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอชื่อต่อยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก สาขา การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และสื่อสารมวลชน เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาล 100 ปี ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554 นับเป็นคนไทยลำดับที่ 20

jumboslot

การศึกษา
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เริ่มต้นเรียนหนังสือที่บ้าน กับหม่อมราชวงศ์บุญรับ พี่สาวคนโต จนอ่านภาษาไทยได้ตั้งแต่อายุ 4 ปี กระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2458 เขาจึงเข้าศึกษาภาคบังคับ ที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (วังหลัง) จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเดินทางไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนเทรนต์วิทยาลัย (Trent College) จากนั้นสอบเข้าวิทยาลัยควีนส์ (The Queen’s College) แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (University of Oxford) เพื่อศึกษาวิชาการปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ โดยสำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยม และอีกสามปีต่อมา ก็สำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน
ผลงานที่สำคัญ
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ขณะที่เป็นนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่งเมื่อปี พ.ศ. 2518 หลังจากที่ตัดขาดความสัมพันธ์ระดับรัฐบาลมาเป็นเวลานาน
การวิพากษ์วิจารณ์
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ได้วิพากษ์วิจารณ์ผลงานของ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ โดยเฉพาะ สี่แผ่นดินว่า “ใช้เล่ห์เพทุบาย ในการมอมเมาผู้คนยิ่งกว่าให้ข้อเท็จจริงอย่างสุจริตใจ” ส่วน ไผ่แดง กาเหว่าที่บางเพลง ฮวนนั้ง และซูสีไทเฮา สุลักษณ์ กล่าวว่าเป็นบทประพันธ์ที่ลอกเลียนมาจากภาษาต่างประเทศระดับ “ขโมยหรือปล้นสะดมมาเลยทีเดียว” คำวิพากษ์วิจารณ์นี้อยู่บนพื้นฐานของการวิจัยปัญญาชนไทย 10 คน[11] ซึ่งมีอิทธิพลกับการสร้างจิตสำนึกให้คนไทยร่วมสมัย ซึ่ง หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ และ หลวงวิจิตรวาทการ ก็อยู่ในรายชื่อปัญญาชนของการวิจัยดังกล่าวด้วย
ในส่วนที่เกี่ยวกับการประพันธ์ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เริ่มเขียนบทสักวา บทความ และสารคดี ลงในหนังสือพิมพ์ “เกียรติศักดิ์” เป็นประจำ ตั้งแต่ช่วงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรพ.ศ. 2489 เพราะสละ ลิขิตกุลบรรณาธิการยุคนั้นผู้สนิทคุ้นเคยขอร้องให้ช่วยเขียน และได้กลายเป็นนักเขียนจริงจังเมื่อออกหนังสือพิมพ์ “สยามรัฐ” รายวันของตนเอง ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 เป็นตันมา โดยระยะแรก ถูกบรรณาธิการคือ สละ ลิขิตกุล ของให้เขียนวันละ 3 เรื่อง มีเรื่องยาวประจำคือ สามก๊กฉบับ นายทุน บทบรรณาธิการ และเก็บเล็กผสมน้อย ในระยะต่อมาก็มีงานเขียนอื่นๆ อีกมาก รวมทุกประเภทมากกว่าร้อยเรื่องและล้วนได้รับความนิยมจากผู้อ่านอย่างกว้างขวางทั้งสิ้นนวนิยายเรื่อง สี่แผ่นดิน กับ ไผ่แดง ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ หลายชีวิต แปลเป็นภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงได้ประกาศให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เมื่อ พ.ศ. 2528

slot

ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช สมรสกับ ม.ร.ว. พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ ม.ล.รองฤทธิ์ และ ม.ล.วิสุมิตรา ปราโมช ต่อมาแม้จะหย่าขาดจากกัน แต่ต่างก็ไม่สมรสใหม่และไม่ได้โกรธเคืองกัน โดย ม.ร.ว.พักตร์พริ้งอยู่กับลูกชายคือ ม.ล.รองฤทธิ์ ที่บ้านในซอยสวนพลูติดกับบ้านของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และยังไปมาดูแลทุกข์สุขกันเสมอ
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้มีความรู้ความสามารถหลายบทบาท ทั้งในฐานะนักการเมือง นักการธนาคาร นักพูด นักเขียน ศิลปินระดับที่เคยร่วมแสดงภาพยนตร์กับฮอลลีวู้ด และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งคณะโขนนักศึกษาธรรมศาสตร์ ฯลฯ จนได้รับยกย่องเป็นปราชญ์ของเมืองไทยที่ชาวต่างประเทศยอมรับกว้างขวาง และได้รับพระราชทานยศกรณีพิเศษเป็นพลตรี แต่ที่นับว่าประสบความสำเร็จสูงสุดและได้กระทำอย่างต่อเนื่องมากที่สุดคือ งานประพันธ์ แม้ในระยะหลังเมื่อมีอายุมากแบ้ว สุขภาพไม่แข็งแรงนักก็ยังเขียนบทความในหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน อยู่เป็นประจำ รวมทั้งนวนิยายเรื่องสุดท้ายคือ “กาเหว่าที่บางเพลง”

Comments are closed