พระยาเฉลิมอากาศ บิดาแห่งกองทัพอากาศไทย

jumbo jili

นามเดิมของท่านคือ สุณี สุวรรณประทีป เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2403 ท่านได้เข้าเรียนที่โรงเรียน นายร้อยทหารบกจนจบ และได้เข้ารับราชการ พระยาเฉลิมอากาศเป็นผู้ที่มีใจรักในการบินและท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่ในการปกป้องประเทศชาติ ท่านจึงเริ่มจัดตั้งหน่วยการบินขนาดย่อม ที่มีเครื่องบินเพียง 2–3 ลำ จนกลายเป็นกองทัพอากาศ อันแข็งแกร่งในปัจจุบัน ขนอาจกล่าวได้ว่า ท่านเป็น “บิดาแห่งกองทัพอากาศไทย” ท่านถึงแก่อสัญญกรรม เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2498*

สล็อต

พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) (26 เมษายน พ.ศ. 2430 – 14 กันยายน พ.ศ. 2498) เป็นนักบินคนแรกของประเทศไทยและเป็นผู้ให้กำเนิดกองทัพอากาศไทย
พระยาเฉลิมอากาศ มีนามเดิมว่า สุณี สุวรรณประทีป เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2430 ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เข้ามาศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้คะแนนดีเยี่ยม จากนั้นเข้ารับราชการทหาร
ท่านได้รับทุนไปศึกษาวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส ขณะมียศเป็น นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ เป็นนักบินรุ่นแรก คนหนึ่งในจำนวน 3 คน ซึ่งประกอบด้วย นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) (ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์) และนายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต (ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต)
ท่านรับราชการเป็นนักบินในกองทัพจนมียศเป็นนายพลโท บรรดาศักดิ์เป็นพระยาเฉลิมอากาศ เมื่อ พ.ศ. 2463 เป็นผู้ริเริ่มหน่วยบินซึ่งเดิมมีเครื่องบินเพียง 8 ลำ จนพัฒนามาเป็น กรมอากาศยานทหารบก และกลายเป็นกองทัพอากาศไทย ในเวลาต่อมา
นายพลโท พระยาเฉลิมอากาศ พ้นจากหน้าที่ “เจ้ากรมอากาศยาน” เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ภายหลังมีการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งได้มีคำสั่ง “ยกเลิกชั้นนายพลในกองทัพไทย” และกลับเข้าทำหน้าที่ ผู้กำกับการบินพลเรือน เป็นนายทหารนอกราชการ ในปี พ.ศ. 2481 ภายหลังได้รับพระราชทานยศ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ และลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2486
นายพลโท พระยาเฉลิมอากาศ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2498 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สิริอายุ 68 ปี 141 วัน
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
6 มกราคม พ.ศ. 2453 เป็น “หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ”
18 มิถุนายน พ.ศ. 2457 เป็น “พระเฉลิมอากาศ”
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 เป็น “พระยาเฉลิมอากาศ”

สล็อตออนไลน์

ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร
สิงหาคม พ.ศ. 2446 เป็นนักเรียนนายร้อย
มิถุนายน พ.ศ. 2448 เป็นว่าที่นายร้อยตรี
21 กันยายน พ.ศ. 2448 เป็นนายร้อยตรี
11 ตุลาคม พ.ศ. 2449 เป็นนายร้อยโท
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 เป็นนายร้อยเอก
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เป็นนายพันตรี
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 เป็นนายพันโท
23 มีนาคม พ.ศ. 2459 เป็นนายพันเอก
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 เป็นนายพลตรี
6 มีนาคม พ.ศ. 2473 เป็นนายพลโท
พ.ศ. 2475 ยกเลิกยศนายทหารชั้นนายพล ใน กองทัพบก
1 ธันวาคม พ.ศ. 2479 เป็นนายนาวาอากาศเอก
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 เป็นพลอากาศโท
พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) (พ.ศ. 2430-2495) เกิดที่ตำบาลบ้านไร่ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี นักบินคนแรกของประเทศ และเป็นผู้วางรากฐานให้เกิดกองทัพอากาศ จากหน่วยงานการบินเล็ก
ต้นปี 2454 ชาติตะวันตกได้นำเครื่องบินแบบออร์วิลล์ไรท์ ขนาด 50 แรงม้า, ความเร็ว 50กิโลเมตร/ชั่วโมง มาแสดงการบินให้ประชาชนชมที่สนามม้าสระประทุม หลังจากนั้นก็เชิญทหารไทยขึ้นเป็นผู้โดยสาร ฝ่ายไทยก็ส่ง พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ ขึ้นไปเป็นผู้โดยสารทดลอง
หลังการแสดงการบินครั้งนั้นไม่นานนัก จอมพล พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ที่เสด็จกลับจากยุโรป ทรงเห็นวิทยาความก้าวหน้าทางการบิน จึงนำความกราบทูล นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ เสนาธิการทหารบก ถึงความจำเป็นที่ไทยจะต้องมีเครื่องบินในการป้องกันประเทศ

jumboslot

กระทรวงกลาโหมจึงได้ดำริให้จัดตั้งหน่วยบินขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของทัพบก วันที่ 18 มกราคม 2454 จึงมีคำสั่งให้นายทหาร 3 นาย คือ

  1. นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ)
  2. นายร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร (พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์)
  3. นายร้อยโททิพย์ เกตุทัต (พระยาทยานพิฆาฏ) ไปเรียนการบินที่ประเทศฝรั่งเศสและดูงานกิจการการบินในยุโรป ประมาณ 2 ปี
    เมื่อพลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ พร้อมด้วยนายทหารอีก 2 นาย สำเร็จการศึกษากลับ กระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งแผนกการบิน สังกัดกรมจเรการช่างทหารบกขึ้น และเมื่อเครื่องบินจำนวน 8 ลำ ที่รัฐบาลสั่งซื้อจากฝรั่งเศสมาถึงก็จัดสร้างโรงเก็บเครื่องบินชั่วคราวที่หลังโรงเรียนพลตำรวจ ปทุมวัน (ราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบัน)
    ต่อมาวันที่ 29 ธันวาคม 2456 ทางการได้กำหนดให้มีการทดลองบินเครื่องบินที่ซื้อมาเป็นครั้งแรก โดยพลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ พร้อมนายทหารอีก 2 นาย ที่สนามม้าสระประทุม เครื่องบินที่ทดลองในวันนั้น ได้แก่ เครื่องบินแบบนิเออปอร์ต ปีกชั้นเดียว ใช้เครื่องยนตร์โนม 50 แรงม้า 2 ลำ และเครื่องยนต์นิเออปอรต์ 28 แรงม้า 1 ลำ การทดลองบินครั้งแรกนี้มีการรายงานในหนังสือพิมพ์ว่า
    “ณ เวลา 7.30 นาฬิกา เครื่องยนต์ของเครื่องบินลำแรกได้ติดขึ้น และเครื่องบินลำนั้นก็แล่นออกไปข้างหน้า คนดูพากันโห่ร้อง เมื่อเครื่องบิน บินขึ้นไปในอากาศ และบินข้ามสนามกอล์ฟไปอย่างรวดเร็ว เครื่องบินลำนั้นเลี้ยวที่ศาลาแดง และนักบินก็บินเวียนสนามกอล์ฟและบินข้ามไปลงดิน เครื่องกีดขวางในสนามกอล์ฟนั้นน่ากลัวอยู่ แต่นักบินก็สามารถบินเลือกที่ลงได้ และเมื่อตอนที่เครื่องบนร่อนลงสู่พื้นดินนั้น เสียงเครื่องยนต์ก็เบาลงจนเงียบ

slot

เครื่องบินลำที่ 2 บินขึ้นสู่อากาศและบินข้ามโรงเรียนพลตำรวจไป แล้วก็เลี้ยวขวาบินหักมุมโค้งอย่างกว้างไปทางศาลาแดง ก่อนที่จะบินกลับมาลงที่สนาม ต่อมาลำที่ 3 ก็บินขึ้นไปโดยไม่มีเหตุขัดข้องใดๆ ในการร่อนลงซึ่งนับว่าทำยากที่สุดนั้น ก็มิได้มีเหตุร้ายอันใดเกิดขึ้น”
วันที่ 13 มกราคม 2456 พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ ซึ่งขณะนั้นมียศพันโท นำนายทหารอีก 2 นาย ขึ้นทำการบินถวายต่อหน้าพระพักตร์รัชกาลที่ 6
หลังจากนั้นกิจการการบินก็ก้าวหน้าไปตามลำดับ การใช้สนามม้าสระปทุมเป็นสนามบินเริ่มคับแคบและไม่สะดวก พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ จึงหาสถานที่เป็นสนามบินถาวร โดยเลือกตำบลดอนเมืองที่เป็นที่ดอน หน้าน้ำ น้ำไม่ท่วม และอยู่ไม่ไกลพระนครเป็นที่ทำการบิน และเริ่มการก่อสร้าง วันที่ 8 มีนาคม 2457 พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ พร้อมด้วยนายทหารที่สำเร็จจากฝรั่งเศสอีก 2 นาย นำเครื่องบินมาลงที่สนามบินดอนเมืองเป็นปฐมฤกษ์

Comments are closed