ปรัชญา
คำว่า ปรัชญา (มีที่มาจากภาษาสันสกฤต प्रज्ञा ปฺรชฺญา) หมายถึง “ความรู้” (ซึ่งเป็นคำเดียวกันใน ภาษาบาลี คือคำว่า ปัญญา) เป็นศัพท์บัญญัติแทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ (ที่มีรากศัพท์มาจากคำกรีกโบราณ: Φιλοσοφία ฟีโลโซเฟีย) ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่้พีทาโกรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวปี 570-495 ก่อนค.ศ. โดยเกิดจากการสมาสคำว่า φιλος พีลอส แปลว่า ความรัก และ σοφία โซเฟีย แปลว่าความรู้ เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่า ความรักในความรู้ หรือ ความปรารถนาจะเข้าถึงความรู้

joker123

ปรัชญา ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และหลักแห่งความจริง โดยในบรรดาความรู้ทั้งหลายของมนุษยชาตินั้น อาจแบ่งได้เป็นสองเรื่องใหญ่ ๆ
เรื่องที่หนึ่ง คือ เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น ฟิสิกส์ มีเป้าหมายในการศึกษาเพื่อหาความจริงต่าง ๆ และเข้าใจในธรรมชาติมากกว่าสิ่งรอบตัวเพราะรวมไปถึงจักรวาลทั้งหมดอย่างลึกซึ้ง ชีววิทยา มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย เคมี มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับธาตุและองค์ประกอบของธาตุ เป็นต้น นับแต่สมัยกรีกโบราณมาจนถึงศตวรรษที่ 19 การศึกษาวิชาดาราศาสตร์ การแพทย์ และฟิสิกส์ เคยถูกรวมอยู่สาขาปรัชญาธรรมชาติ (Natural philosophy) จนกระทั่งการเติบโตของมหาวิทยาลัยสมัยใหม่ ส่งผลให้นักวิชาการหันไปพัฒนาศาสตร์เฉพาะทางขึ้นมา

สล็อต

เรื่องที่สอง คือ เรื่องเกี่ยวกับสังคม เช่น เศรษฐศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจของสังคม รัฐศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครองของสังคม นิติศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับระบบกฎหมายของสังคม เป็นต้น
เป้าหมายในการศึกษาของปรัชญา คือการครอบคลุมความรู้และความจริงในทุกศาสตร์และในทุกสาขาความรู้ของมนุษย์ รวมทั้งชีวิตประจำวันของตนด้วย ผลจากการศึกษาของปรัชญาก็สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ ผู้ที่มีความรู้ อุทิศตนเพื่อการศึกษาและการผลิตองค์ความรู้ในทางด้านนี้ เรียกกันว่า นักปรัชญา ปราชญ์ หรือ นักปราชญ์
แนวคิดทางปรัชญาและปรัชญาประยุกต์

สล็อตออนไลน์

จิตนิยม
จิตนิยมเชื่อว่า มนุษย์เรามีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ จิต กับ ร่างกาย และเชื่อว่า จิตนั้นมีความสำคัญมากกว่าร่างกาย เพราะเป็นตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ จิตหรือวิญญาณนั้นเป็นอมตะ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ร่างกายนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปมา มีเกิดมีดับตามสภาพโลกภายนอก จึงทำให้ร่างกายเกิดสุขหรือทุกข์ต่าง ๆ จิตนิยมมองว่า จิตนั้นทำหน้าที่ควบคุมร่างกาย ส่วนร่างกายเป็นเพียงสิ่งที่ทำตามความต้องการของจิตเท่านั้น
จิตนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้จักการเรียนรู้ คิดค้น และมีอารมณ์ ความรู้สึกได้ ส่วนสมองนั้นเป็นเพียงเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์เรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ แต่ผู้ที่กระทำการเรียนรู้ เข้าใจ นึกคิดนั้นต้องเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ใช่สมอง และไม่ใช่สสาร และสิ่งนั้นคือ จิตหรือวิญญาณ และแม้ว่า จิตจะไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ แต่มันก็เป็น จริงอยู่ในตัวเราเท่า ๆ กับร่างกายที่เป็นจริงด้วย
เพลโตเชื่อว่า มนุษย์เรามีธรรมชาติเป็นจิตกับร่างกาย เรียกทัศนะนี้ว่า ทวินิยม เพลโตแบ่งจิตออกเป็น 3 ภาค 3 หน้าที่ จิตภาคไหนแข็งแรงกว่า ร่างกายก็จะทำตามจิตภาคนั้นออกคำสั่ง ได้แก่
ภาคตัณหา คือ ภาคที่มนุษย์ล้วนอยู่ในความต้องการความสุขทางร่างกาย เช่น กิน อยู่ โดยไม่คิดถึงสิ่งใดเลย ไม่สนใจความดี ความงาม หรือความเป็นจริง

jumboslot

ภาคน้ำใจ คือ ภาคที่มนุษย์มีความรู้สึกทางใจเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุทางวัตถุ เช่น ความซื่อสัตย์ ความรักเกียรติ ความมีเมตตา คนที่มีจิตภาคนี้เข้มแข็ง ก็จะมีภาคตัณหาน้อยลง เพราะความสุขของเขาไม่ได้อยู่ที่การสนองตัณหา
ภาคปัญญา คือ จิตในด้านที่เป็นเหตุผล เป็นจิตภาคที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับความเป็นมนุษย์ เพลโตถือว่า มนุษย์จะแตกต่างจากสัตว์และสิ่งต่าง ๆ ในโลก ก็ด้วยจิตภาคปัญญานี้เท่านั้น และการใช้ปัญญาเหตุผลของมนุษย์ภาคนี้ ก็จะทำให้มนุษย์เข้าถึงโลกของแบบได้

slot

มนุษย์ทุกคนมีจิตทั้ง 3 ภาคเหมือนกัน แตกต่างที่อัตราส่วนของจิตในแต่ละภาคนั้นไม่เท่ากัน ใครคนหนึ่งจะแสดงพฤติกรรมอะไรออกมา ก็แล้วแต่ว่ามีจิตภาคไหนเข้มแข็งที่สุด จิตที่ดีที่สุด คือ จิตที่มีภาค 3 ภาค สมดุลกัน แต่ขอให้ภาคปัญญานำภาคอื่น ๆ ก็เป็นอันใช้ได้

Comments are closed