น้ำ
น้ำ เป็นสารเคมีที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและออกซิเจน (H2O) และมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบ ในการใช้งานโดยทั่วไป น้ำ จะหมายถึงรูปแบบหรือสถานะที่เป็นของเหลวเท่านั้น แม้ว่าจะพบน้ำในสถานะของแข็งและสถานะแก๊ส (น้ำแข็งและไอน้ำ) ด้วยก็ตาม น้ำปกคลุม 71% ของพื้นผิวโลก ส่วนใหญ่พบในมหาสมุทรและแหล่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ โดยมีน้ำใต้พื้นดินในชั้นหินอุ้มน้ำ 1.6% และ 0.001% ในอากาศในรูปไอ เมฆ และหยาดน้ำฟ้า มหาสมุทรถือครองพื้นที่ 97% ของผิวน้ำ ธารน้ำแข็งและน้ำแข็งขั้วโลก 2.4% และน้ำผิวดินอื่น ๆ เช่นแม่น้ำ ทะเลสาบ และบึงน้ำ 0.6% นอกจากนี้ปริมาณน้ำของโลกส่วนหนึ่งถูกบรรจุอยู่ภายในสิ่งมีชีวิตและสสารที่สิ่งมีชีวิตผลิตขึ้น
มหาสมุทร
มหาสมุทรเป็นแหล่งน้ำเค็มที่สำคัญและเป็นส่วนประกอบหลักของอุทกภาค ประมาณ 71% ของพื้นผิวโลก (คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 361 ล้านตารางกิโลเมตร) ถูกปกคลุมด้วยมหาสมุทร ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ต่อเนื่องถึงกัน ซึ่งแบ่งออกเป็นมหาสมุทรหลักและทะเลขนาดเล็กหลายแห่ง มากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ในมหาสมุทรมีความลึกกว่า 3000 เมตร ค่าความเค็มของโดยเฉลี่ยมหาสมุทรอยู่ที่ประมาณ 35 ส่วนในพันส่วน (3.5%) และน้ำทะเลเกือบทั้งหมดมีความเค็มอยู่ในช่วง 30 ถึง 38 ppt แม้ว่าโดยทั่วไปมหาสมุทรจะถูก “แบ่งออกจากกัน” แต่น่านน้ำเหล่านี้เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่เชื่อมถึงกัน มักถูกเรียกว่า “มหาสมุทรโลก” แนวความคิดเกี่ยวกับมหาสมุทรโลกในฐานะแหล่งน้ำที่ต่อเนื่องกันโดยมีการแลกเปลี่ยนที่ค่อนข้างอิสระระหว่างส่วนต่าง ๆ ของมัน เป็นพื้นฐานที่สำคัญในทางสมุทรศาสตร์
การแบ่งมหาสมุทรออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ ที่สำคัญ ถูกกำหนดโดย ทวีป หมู่เกาะต่าง ๆ และเกณฑ์อื่น ๆ: มหาสมุทรถูกแบ่งออกเป็นส่วนดังนี้ (ตามขนาดจากมากไปน้อย) มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณที่เล็ก ๆ ของมหาสมุทรเรียกว่าทะเล อ่าว และชื่ออื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีทะเลสาบเกลือ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่มหาสมุทรโลก ทะเลสาบเกลือที่เป็นที่รู้จัก เช่น ทะเลอารัล และทะเลสาบเกรตซอลต์
ทะเลสาบ
ทะเลสาบ (lake, จากภาษาละติน lacus) เป็นภูมิประเทศ (หรือลักษณะทางกายภาพ) อย่างหนึ่ง เป็นของเหลวบนพื้นผิวโลกที่รวมตัวกันอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นแอ่ง (และอาจพบการเคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ) หากตั้งอยู่บนแผ่นดิน, ไม่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทร, ใหญ่และลึกกว่าหนองน้ำและมีน้ำจากแม่น้ำไหลมาเติม แหล่งน้ำนั้นจะถือว่าเป็นทะเลสาบทะเลสาบนอกโลกแห่งเดียวที่ทราบกันตั้งอยู่บนดาวไททัน ซึ่งเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ เป็นทะเลสาบอีเทนที่มีมีเทนผสมอยู่ด้วย แม้ว่าพื้นผิวของไททันจะเต็มไปด้วยลวดลายของก้นแม่น้ำ แต่ก็ยังไม่ทราบว่าทะเลสาบของไททันมีแม่น้ำคอยหล่อเลี้ยงหรือไม่ โดยทั่วไป ทะเลสาบตามธรรมชาติบนโลกมักพบในพื้นที่ภูเขา รอยแยก และบริเวณที่มีการก่อตัวของธารน้ำแข็งทั้งที่กำลังดำเนินอยู่หรือผ่านไปแล้ว ทะเลสาบอื่น ๆ พบได้ใน แอ่งเอ็นโดรีอิก (endorheic basin) หรือตามแนวแม่น้ำอยู่ตัว (mature river) บางบริเวณของโลกพบทะเลสาบจำนวนมาก เนื่องจากรูปแบบการระบายน้ำอย่างไม่เป็นระเบียบที่หลงเหลือจากยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย ทะเลสาบทั้งหมดดำรงอยู่เพียงชั่วคราวเมื่อเทียบกับมาตราส่วนเวลาทางธรณีวิทยา เนื่องจากจะถูกตะกอนค่อย ๆ ทับถมจนเต็ม หรือไหลออกจากแอ่งที่บรรจุอยู่
บึงน้ำ
บึงน้ำ หนองน้ำ สระน้ำ เป็นแหล่งน้ำนิ่งไม่ว่าทั้งในธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น มักมีขนาดเล็กกว่าทะเลสาบ แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นหลายแหล่งจัดเป็นสระน้ำ รวมถึงสวนน้ำที่ออกแบบมาเพื่อความสวยงาม, บ่อปลาที่ออกแบบมาสำหรับการเพาะพันธุ์ปลาเชิงพาณิชย์ และบ่อพลังงานแสงอาทิตย์ที่ออกแบบมาเพื่อกักเก็บพลังงานความร้อน บึงน้ำและทะเลสาบแตกต่างจากลำธารที่ความเร็วของกระแสน้ำ ในลำธารสามารถสังเกตเห็นกระแสของน้ำได้ง่าย แต่ในบึงน้ำและทะเลสาบ กระแสน้ำมีขนาดเล็กกว่าและถูกขับเคลื่อนด้วยพลังงานความร้อนและกระแสลม คุณลักษณะเหล่านี้ทำให้บ่อน้ำแตกต่างจากลักษณะภูมิประเทศทางน้ำอื่น ๆ เช่น บึงน้ำจากลำธาร หรือแอ่งน้ำที่จากคลื่นซัด
แม่น้ำ
แม่น้ำเป็นทางน้ำไหลตามธรรมชาติ โดยปกติเป็นน้ำจืด ไหลไปสู่มหาสมุทร ทะเลสาบ ทะเล หรือแม่น้ำอื่น ในบางกรณี แม่น้ำไหลลงสู่ใต้ดินหรือระเหยไปจนหมดก่อนที่จะถึงแหล่งน้ำอื่น สำหรับแม่น้ำสายเล็ก ๆ สามารถมีเรียกได้หลายแบบ เช่น ลำธาร ลำห้วย ละหารและร่องน้ำริน ไม่มีกฎเกณฑ์ทั่วไปสำหรับกำหนดสิ่งที่เรียกได้ว่าแม่น้ำ ชื่อแม่น้ำเล็ก ๆ หลายชื่อมีความจำเพาะเจาะจงตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ตัวอย่างเช่นคำว่า Burn ที่ใช้กันในในสกอตแลนด์และทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ บางครั้งแม่น้ำก็มีขนาดใหญ่กว่าลำห้วยได้ เนื่องจากความไม่ชัดเจนทางภาษา แม่น้ำเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรน้ำ โดยทั่วไปแล้วน้ำในแม่น้ำสะสมตัวจากการควบแน่นของหยาดน้ำฟ้าผ่านการไหลของน้ำผิวดิน, การเติมน้ำใต้ดิน, น้ำพุและการปล่อยน้ำที่กักเก็บไว้ในน้ำแข็งธรรมชาติและทุ่งหิมะละลายช้า (เช่นจากธารน้ำแข็ง)
ลำธาร
ลำธารเป็นแหล่งน้ำที่ไหลอย่างเป็นกระแส มีขอบเขตเป็นก้นธารและริมฝั่ง ลำธารมีความสำคัญเปรียบดั่งท่อส่งในวัฏจักรน้ำและการเติมน้ำใต้ดิน และใช้เป็นเส้นทางสำหรับการอพยพของปลาและสัตว์ป่า แหล่งที่อยู่ทางชีวภาพในบริเวณใกล้ลำธารเรียกว่า เขตริมน้ำ (riparian zone) ลำธารมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมต่อแหล่งที่อยู่อาศัยที่กระจัดกระจายเข้าไว้ด้วยกัน และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพท่ามกลางเหตุการณ์สูญพันธุ์ยุคโฮโลซีนที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ การศึกษาลำธารและทางน้ำโดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับสาขาทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์หลายสาขาที่เป็นสหวิทยาการ เช่น อุทกวิทยา ธรณีสัณฐานวิทยา นิเวศวิทยาทางน้ำ ชีววิทยาของปลา นิเวศวิทยาริมน้ำ และอื่น ๆ
Comments are closed