วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer engineering) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่องหรือระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ ศาสตร์นี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร และความเกี่ยวเนื่องระหว่างเรื่องทั้งสาม หลักสูตรการเรียนมุ่งเน้นทางด้าน ทฤษฎี กฎ และ การฝึกฝนปฏิบัติของทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์รวมถึงการประยุกต์เข้ากับปัญหาทางด้านการออกแบบคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์
วิศวกรคอมพิวเตอร์ ศึกษาการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร องค์ประกอบของ
joker123 คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเรียนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ดิจิทัล และ การสร้างส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ และ ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งความรู้ทางด้านวิศวกรรมที่ดีด้วย
ปัจจุบันสาขาวิชาที่สำคัญในด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คือ ระบบฝังตัว การพัฒนาอุปกรณ์ที่มีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ฝังตัวภายใน เช่น อุปกรณ์สื่อสารอย่าง โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นวิทยุระบบดิจิทัล เครื่องบันทึกวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล ระบบเตือนภัย เครื่องถ่ายรังสีเอกซ์ และ เครื่องมือผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องการการผนวกรวมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ฝังตัวหรือของอื่น ๆ ที่เป็นผลจากการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
ประวัติวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในสหรัฐอเมริกา
ประวัติวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ในอเมริกาเริ่มจากแต่เดิมเป็นสาขาวิชาเฉพาะทางในวิศวกรรมไฟฟ้า ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการวิศวกรรมฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ แต่ต่อมาช่วงหลังปี ค.ศ. 1990 จึงมีการเพิ่มเติมเนื้อหาการศึกษาทางด้านซอฟต์แวร์ หรืออาจมองได้ว่าเกิดจากการรวมกันของวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาการคอมพิวเตอร์ ถ้าพิจารณาจากสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าแล้ว วิศวกรคอมพิวเตอร์คือวิศวกรไฟฟ้าที่มุ่งเน้นไปที่ระบบฮาร์ดแวร์เชิงดิจิทัล และไม่เน้นทางด้านความถี่วิทยุ หรือไฟฟ้ากำลัง และถ้ามองจากทางวิทยาการคอมพิวเตอร์แล้ว วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อประสานระหว่างซอฟต์แวร์และระบบฮาร์ดแวร์ ในยุคหลังมีทฤษฏีหลายอย่างที่เกิดขึ้นในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบเครือข่าย การรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ หรือ การรู้จำด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในอเมริกาส่วนมาก เริ่มก่อตั้งขึ้นภายใต้หรือควบคู่กับภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 บางมหาวิทยาลัยเลือกที่จะผนวกสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมซอฟต์แวร์เข้ากับภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ในขณะที่บางที่เช่น สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ เลือกที่จะรวมภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเข้ากับภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์แทน
งาน
งานด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 2 สาขาหลัก คือ ด้านซอฟต์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์
วิศวกรรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
วิศวกรซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์จะพัฒนา, ออกแบบและทดสอบซอฟต์แวร์ บางวิศวกรซอฟต์แวร์ ออกแบบ, สร้างและบำรุงรักษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับบริษัททั่วไป บางคนจัดตั้งเครือข่ายเช่น “อินทราเน็ต”สำหรับบริษัททั่วไป หลายตนทำหรือติดตั้งซอฟต์แวร์ใหม่หรืออัพเกรดระบบคอมพิวเตอร์ วิศวกรซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ยังสามารถทำงานออกแบบแอปพลิเคชัน งานนี้เกี่ยวข้องกับการออกแบบหรือการเข้ารหัสโปรแกรมและแอปพลิเคชันใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจหรือบุคคล
วิศวกรรมฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
วิศวกรฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะวิจัย, พัฒนา, ออกแบบและทดสอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ งานนี้สามารถมีช่วงจากแผงวงจรและไมโครโปรเซสเซอร์ จนถึงเราเตอร์ บางคนปรับปรุงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ใหม่ได้ วิศวกรฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ทำงานในห้องปฏิบัติการวิจัยและบริษัท ผลิตเทคโนโลยีชั้นสูง บางคนยังทำงานให้กับรัฐบาลกลาง ตามข้อมูลของสำนักสถิติแรงงานของสหรัฐฯ, 95% ของวิศวกรฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ทำงานในพื้นที่นครบาล พวกเขามักจะทำงานเต็มเวลา ประมาณ 25% ของการทำงานของพวกเขาต้องทำงานมากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เงินเดือนเฉลี่ยของลูกจ้างวิศวกรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่มีคุณสมบัติ (2012) เป็น $ 100,920 ต่อปี หรือ $48.52 ต่อชั่วโมง วิศวกรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ทำงาน 83,300 งานในปี 2012
หลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ประกอบด้วยองค์ความรู้ดังนี้
- พื้นฐานการเขียนโปรแกรม
- คณิตศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์
- อิเล็กทรอนิกส์
- ตรรกศาสตร์ดิจิทัล
- โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี
- โครงสร้างและสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
- ระบบปฏิบัติการ
- ระบบฐานข้อมูล
- วิศวกรรมซอฟต์แวร์
- เครือข่ายคอมพิวเตอร์
Comments are closed