ปราสาทพระวิหาร
ปราสาทพระวิหาร (เขมร: ប្រាសាទព្រះវិហារ บฺราสาทพฺระวิหาร; อังกฤษ: Temple of Preah Vihear) เป็นปราสาทหินตามแบบศาสนาฮินดูที่ตั้งอยู่บริเวณทิวเขาพนมดงรัก (เขมร: ភ្នំដងរែក ภฺนํฎงแรก; “ภูเขาไม้คาน”) สูงจากระดับทะเลปานกลาง 657 เมตร ที่ตั้งของศาสนสถานแห่งนี้รู้จักกันในนาม เขาพระวิหาร (เขมร: ភ្នំព្រះវិហារ ภฺนํพฺระวิหาร)
joker123 ปราสาทพระวิหารนั้นตั้งอยู่ในจังหวัดพระวิหารของประเทศกัมพูชาซึ่งอยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษของประเทศไทย ซึ่งเคยเป็นทางขึ้นสู่ปราสาทที่สะดวกที่สุด
ปราสาทพระวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบเขมร สร้างตามแนวเหนือใต้ซึ่งผิดแปลกไปจากปราสาทขอมส่วนใหญ่ ไทยและกัมพูชามีประวัติพิพาทเหนือตัวปราสาทเป็นเวลานานแล้ว ใน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิพากษาให้กัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาท (ดู คดีปราสาทพระวิหาร) และวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในประเทศกัมพูชา
ชื่อ
ปราสาทแห่งนี้มีชื่อเรียกเก่าสุดว่า “ภวาลัย” ตามรายงานของกรมวิชาการ และมีชื่ออื่น ได้แก่ “ศรีศิขรีศวร”, “วีราศรม” และ “ตปัสวีนทราศรม”
นามของปราสาทพระวิหารตามที่ปรากฏในศิลาจารึก คือ “ศีรศิขเรศวร” (ស្រីសិខៈ រិ ស្វារៈ) ประกอบด้วย “ศีร” (ศรี หรือสิริ, เป็นคำนำหน้า) กับ “ศิขเรศวร” มาจาก “ศิขร” (ภูเขา) และ “อิศวร” (ผู้เป็นใหญ่ หรือหมายถึง พระอิศวร) แปลได้ว่า ผู้เป็นใหญ่หรือพระอิศวรแห่งภูเขา
เมื่อ พ.ศ. 2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เสด็จไปยังปราสาทแห่งนี้ และทรงขนานนามว่า “ปราสาทพรหมวิหาร” ซึ่งต่อมาเรียกกันทั่วไปว่า “ปราสาทพระวิหาร”
ที่ประดิษฐาน
ปราสาทพระวิหารประดิษฐานอยู่บนผาเป้ยตาดีของเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ณ ละติจูดที่ 104 องศาตะวันออก 41 ลิปดา ในอดีตก่อนที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะมีคำพิพากษา (คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505) ผาเป้ยตาดีอยู่ในเขตหมู่บ้านภูมิซร็อล ตำบลเสาธงชัย (เดิมขึ้นกับ ตำบลบึงมะลู) อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากอำเภอเมืองศรีสะเกษ 110 กิโลเมตร
และเมื่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้มีคำพิพากษาในปี พ.ศ. 2505 นั้นเองจึงเป็นผลทำให้ปัจจุบันปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในจังหวัดพระวิหารของประเทศกัมพูชา อยู่ห่างจากปราสาทนครวัดในเมืองพระนคร ไป 140 กิโลเมตร และห่างจากกรุงพนมเปญไป 320 กิโลมตร
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่เคยชี้ขาดว่าเขตแดนไทย-กัมพูชาดังกล่าวมีเส้นอยู่ตรงจุดใด ศาลฯ ชี้ขาดเพียงว่า กัมพูชามีอธิปไตยทางดินแดนเหนือปราสาทพระวิหาร แต่ก็มีชาวไทยบางคนเข้าใจว่า ศาลฯ ชี้ขาดแต่ตัวปราสาทเท่านั้น ไม่รวมถึงอาณาบริเวณอันเป็นที่ประดิษฐานปราสาทแต่อย่างใด
บางครั้ง ชาวกัมพูชาเรียกปราสาทว่า “พนมพระวิหาร” (ភ្នំព្រះវិហារ) ขณะที่ชาวไทยมักเรียกว่า “เขาพระวิหาร” และนับแต่ประมาณ พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา มีการละคำว่า “เขา” ไว้ในชื่อเพื่อแสดงถึงความแตกต่างระหว่างตัวปราสาทและเนินเขาที่ตั้งปราสาท
โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สันนิษฐานว่าเกี่ยวเนื่อง
โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สันนิษฐานว่าเกี่ยวเนื่องกับปราสาทพระวิหาร มีดังนี้
ภาพสลักบนหน้าผามออีแดง : เป็นภาพสลักนูนต่ำรูปเทพชายและหญิงในท่าเรียงกัน 3 องค์ และยังมีส่วนที่สลักไม่เสร็จ
สถูปคู่ : เป็นสถูปคู่ 2 องค์ สร้างด้วยหินทราย เป็นแท่งสี่เหลี่ยม สูง 4.2 เมตร ยอดมน ข้างในมีโพรงบรรจุสิ่งของ
สระตราว : สระน้ำขนาดใหญ่ คาดว่ามีสถานะเทียบเท่าบาราย (แหล่งเก็บน้ำในอารยธรรมขอม มักสร้างใกล้ปราสาทหิน) บริเวณใกล้เคียงพบร่องรอยการตัดหินเพื่อนำไปสร้างปราสาท
Comments are closed