ป่าชายเลนในประเทศไทย
ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่ประกอบด้วยพืชและสัตว์นานาชนิด ดำรงชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อย หรือมีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอ พบทั่วไปตามที่ราบปากแม่น้ำ อ่าว บริเวณชายฝั่งทะเลในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ทะเลสาบ และบริเวณรอบเกาะแก่งต่างๆ
ป่าชายเลนประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบ (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora sp.) เป็นไม้สำคัญและมีไม้ตระกูลอื่นบ้าง ตัวอย่างเช่น ถั่วดำ ถั่วขาว พังกาหัวสุมดอกแดง โปรงขาว โปรงแดง ตะบูนดำ ตะบูนขาว แสมขาว แสมทะเล ลำพู ลำพูทะเล ตาตุ่มทะเล เหงือกปลาหมอ เป็นต้น
สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของป่าชายเลนมีความแตกต่างออกไปอย่างมากจากป่าชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะดิน ดินในป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์สูงจากธาตุอาหารที่มาจากการกันเซาะตามชายฝั่ง และแหล่งน้ำลำธาร สารอินทรีย์จากซากพืชซากสัตว์ในบริเวณป่าชายเลนเอง โดยเฉพาะใบไม้ที่ร่วงหล่นทับถมกันเป็นจำนวนมาก แพลงค์ตอนพืชและสาหร่าย น้ำบริเวณนี้มีความเค็มค่อนข้างต่ำ ระดับความเค็มของน้ำเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามระดับน้ำที่ขึ้นลงและปริมาณน้ำจืดไหลมาจากแม่น้ำลำคลอง
สัตว์ต่างๆที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลน ต่างก็ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมที่ต่างไปจากสัตว์ในป่าบกทั่วไปเช่นกัน โดยเฉพาะสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามพื้นป่า ซึ่งอาศัยคืบคลานหรือเกาะหรือขุดรูอยู่ตามพื้นดิน รวมทั้งชนืดที่อาศัยอยู่ในน้ำจะต้องมีการปรับตัวอย่างมากเพื่อการอยู่รอด เนื่องจากต้องประสบกับสภาวะต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เป็นประจำหรือต้องอยู่ในสภาพไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตโดยทั่วไป เช่น สภาวะที่ทำให้มีการสูญเสียน้ำออกจากลำตัว สภาพอุณหภูมิสูง สภาพที่มีปริมาณออกซิเจนค่อนข้างต่ำของดินเลน และการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำ สัตว์พวกนี้ได้แก่ หอย ปู กุ้ง หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน ไส้เดือนทะเล และครัสเตเชียน (สัตว์ไม่มีกระดูสันหลังจำพวกกุ้ง ปู) เป็นต้น
ชุมชนในป่าชายเลนจะประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆจำนวนมากที่สามารถปรับตัวอยู่ได้ ทำให้ป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นที่วางไข่และอนุบาลตัวอ่อนและที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด
ประโยชน์ของป่าชายเลน
- เป็นแหล่งพลังงาน อาหาร และที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติ
- เป็นแนวชายป้องกันฝั่งทะเลจากการกัดเซาะพังทลาย กำบังคลื่น ลม กระแสน้ำและพายุ
- เป็นที่ดูดซับน้ำเสียจากบ้านเรือน
- เป็นแหล่งวัตถุดิบผลิตภัณฑ์จากไม้ ที่ใช้ในการก่อสร้าง และอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น สิ่งทอและหนังสัตว์
- เป็นแหล่งเชื้อเพลิง เช่น การทำถ่านจากไม้ในป่าชายเลน
- เป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิตอาหาร ยา และเครื่องดื่ม
- เป็นแหล่งแร่ดีบุก
- เป็นแหล่งประมงใกล้ชายฝั่ง แหล่งอาศัยของลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำวัยอ่อนอื่นๆ
- เป็นที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น หอยแมลงภู่ กุ้ง ปลาในกระชัง เป็นต้น
เขตต่างๆของพันธุ์ไม้ชายเลนในแต่ละแห่งที่พบในประเทศไทยมีความแตกต่างกันบ้าง slot โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 4 เขตดังนี้ - เขตป่าโกงกาง
ประกอบด้วย “โกงกางใบเล็ก” (Rhizophora apiculata) ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีต้น “โกงกางใบใหญ่” (R. mucronata) ขึ้นอยู่ทางด้านนอกริมฝั่งแม่น้ำ โดยมากมักขึ้นเป็นกลุ่มๆ ส่วน แสม มักขึ้นแซมตามชายป่าด้านนอกหรือถัดเข้าไปเพียงเล็กน้อย ซึ่งมองเห็นได้ชัดเพราะมีต้นสูงใหญ่กว่าโกงกางนอกจากนี้ยังมี ประสัก และ พังกาหัวสุม ขึ้นแทรกอยู่ทางด้านในของเขตนี้ ซึ่งอยู่ในระยะประมาณ 50-100 เมตร จากชายฝั่งและในบางแห่งพบต้น “จาก” (Nypa) ขึ้นอยู่เป็นหย่อม ๆ ปะปนด้วย โดยเฉพาะในบริเวณแหล่งน้ำกร่อย - เขตป่าตะบูนและโปรง
ประกอบด้วย “ตะบูน” (Xylocarpus) ขึ้นต่อจากเขตต้นโปรงเข้าไป และมีต้นฝาดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น บางบริเวณอาจมี ลำแพน แทรกอยู่ด้วย - เขตป่าตาตุ่ม และฝาด
เป็นบริเวณที่มีดินเลนแข็งขึ้นอยู่ในระดับที่น้ำจะท่วมถึงในช่วงน้ำเกิด อยู่ถัดจากป่าตะบูนและโปรงขึ้นไป โดยมีต้น ฝาด ขึ้นอยู่หนาแน่นปะปนกับต้น ตาตุ่ม โดยบางแห่งจะมีต้น ลำแพน ขึ้นแทรกอยู่ด้วย - เขตป่าเสม็ด
ประกอบด้วย “เสม็ด” ขึ้นอยู่หนาแน่น เป็นเขตสุดท้ายของป่าชายเลนที่น้ำท่วมถึงในช่วงน้ำเกิดหรือท่วมไม่ถึง ติดต่อกับป่าบกหรือทุ่งนา
Comments are closed